ต้องมีเงินเกษียณแค่ไหน ถึงจะเรียกได้ว่าพอ?

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่เริ่มตื่นตัวเรื่อง “เกษียณ” อยากจะวางแผนการเงิน และเตรียมพร้อมรับมือความไม่แน่นอนของชีวิต ซึ่งสังเกตได้จากการลงทุนเริ่มคึกคัก หรือการพูดถึงเรื่องการเงินมากมายใน Social Network ต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องดีๆ ที่น่าสนใจ

 

แต่คำถามที่ตามมาคือ “แล้วต้องมีเงินเท่าไร ถึงจะเรียกว่าพอ?” เพราะว่าเงินเกษียณ นั้นมันเป็นเรื่องของคนแต่ละคน ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายของเรานั้นมันเพียงพอแล้วจริงๆ

 

บทความในตอนนี้ไม่ได้มาแนะนำวิธีการคำนวณเงินเกษียณ แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า
“หากเราจะวางแผนเกษียณจะต้องนึกถึงอะไรบ้าง และจะต้องเตรียมตัวอย่างไร”

 

โดยสิ่งที่ต้องวางแผนนั้นมีอยู่ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่

  1. จำนวนเงินที่ออมต่อเดือน ทบทวนต่อด้วยว่า การวางแผนเกษียณในปัจจุบันนั้นพอหรือไม่ ถ้าหากเงินออมในแต่ละเดือนยังไม่พอ ต้องถามตัวเองว่าจะหาได้จากไหน จะสร้างจากอะไร หรือ เช็คดูว่าเราประมาทเกินไปกับการสะสมเงินในจำนวนที่น้อยไปหรือเปล่า
  2. ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการเป็นอย่างไร? การวางแผนเกษียณของเรานั้น วางแผนบนพื้นฐานอะไร ความจริง ความฝัน หรือ สิ่งที่ควรจะเป็น หลายคนลืมตัววางแผนจากชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งอาจจะเกินกว่าความจำเป็นที่ต้องการ เช่นเดียวกันบางคนก็อาจจะวางแผนจากชีวิตที่ลำบากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เงินเกษียณไม่เพียงพอ ดังนั้น สิ่งที่ต้องถามเป็นลำดับแรก คือ เราต้องการอะไรในชีวิตหลังเกษียณ?
  3. ผลตอบแทนที่ทำได้จริง โดยปกติแล้วผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสมมติฐานในการลงทุน และการยอมรับความเสียงของเราได้ ซึ่งรู้กันดีว่า ถ้าหาผลตอบแทนได้มาก ก็ใช้จำนวนเงินน้อยลงได้ แต่อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่า การสะสมเงินเพื่อการเกษียณที่ผ่านมานั้น มันทำได้จริงตามเป้าหมายหรือเปล่า เพราะถ้าหากทำไม่ได้เช่นนั้นจริง เราต้องปรับเปลี่ยนแผนระหว่างทางเพื่อให้เดินทางไปสู่เป้าหมายทีต้องการได้
  4. อัตราเงินเฟ้อ สิ่งที่มีผลอย่างมากกับการเกษียณ นั่นคือ อัตราเงินเฟ้อ ซึงทำให้มูลค่าของเงินของเราลดลง ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้รับควรจะมีการคำนวณเพิ่มในส่วนนี้ไว้ด้วย
  5. อายุหลังเกษียณประมาณไว้เพียงพอหรือเปล่า เรื่องสุดท้ายที่ต้องระวัง คือ จำนวนอายุที่ประมาณไว้นั้น เป็นไปตามความเป็นจริงหรือไม่ เหมือนที่ว่าไว้ คือ “สิ่งที่น่าสลดคือเงินหมดแล้วยังไม่ตาย” นั่นเอง

ดังนั้นสิ่งที่อยากให้ตรวจสอบแน่ๆ 5 ข้อหลังจากนี้ แล้วลองคำนวณใหม่ดูอีกสักที ซึ่งถ้าใครอยากรู้ว่าหัลงจากที่เกษียณแล้วต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ และไม่รู้ว่าจะคำนวณที่ไหนนั้นให้มาลองคำนวณได้ที่ ออมเพื่อการเกษียณอายุ ของ Plan Your Money ดูได้เลย

นอกจากนั้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผลตอบแทนไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยที่มีความเสียงลดลง คือ การจัดพอร์ทลงทุนให้เหมาะสมกับวัยเพื่อให้ได้เงินเกษียณตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงวัยดังนี้

 

  • วัยทำงาน (อายุ 21-30 ปี) ยังไม่มีภาระหนี้สินหรือค่าใช้จ่าย ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น หรือ กองทุนรวมหุ้น โดยสามารถลงทุนได้สูงสุดถึง 90% เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่เติบโตในอนาคต
  • วัยสร้างครอบครัว (อายุ 31-40 ปี) เป็นช่วงที่หน้าที่การงานเริ่มมั่นคง มีรายได้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นควรทยอยปรับระดับการลงทุนในหุ้นลดลงเหลือสัก 70% เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • วัยมั่งคั่ง (อายุ 41-55 ปี) เป็นช่วงที่นักลงทุนส่วนใหญ่ มีฐานะมั่นคง บางคนเริ่มที่จะวางแผนเกษียณก่อนกำหนด และระยะเวลาการออมก่อนเกษียณก็เหลือน้อยลง ดังนั้นจึงต้องปรับลดการลงทุนในหุ้นเหลือ 30% เพื่อเตรียมวางแผนเกษียณ หรือวางแผนเกษียณก่อนกำหนด
  • วัยสุดท้ายใกล้เกษียณ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) หากมีการเก็บออมมาตั้งแต่เริ่มทำงาน เวลานี้ควรปรับสัดส่วนในการลงทุนในหุ้นเหลือ 10% เพื่อให้ความเสี่ยงน้อยที่สุด และเตรียมพร้อมการเกษียณ

 

 

คำแนะนำข้างต้นนี้ เป็นคำแนะนำในการจัดพอร์ทลงทุนอย่างคร่าวๆ ซึ่งผู้ลงทุนควรปรับปรุงให้เหมาะสมตามระดับช่วงวัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการด้วย

สุดท้ายสิ่งที่อยากจะฝากไว้เพิ่มเติมอีกสักนิด สำหรับเรื่องการออมเงินเพื่อการเกษียณนั้น คือ
“การตรวจสอบเป้าหมายตัวเองให้ชัด วางแผนให้ดี และมีเงินที่เพียงพอในการลงทุน”

ถ้าหากตอบได้ครบทั้ง 3 ข้อนี้ รับรองว่าคุณจะเกษียณอย่างมีความสุขได้แน่นอน