ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? |
การหักลดหย่อน หมายถึง รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 1. การหักลดหย่อนบุคคลธรรมดา (1)ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม) (2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (3) บุตรให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย (4) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และหักลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีรายได้ในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้และบิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจะต้องออกหนังสือรับรองว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน) (5) ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้นต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาท และเงินได้ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ (6) ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป (7) ค่าเบี้ยประกันชีวิต (8) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ให้หักจากเงินได้) (9) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สมาชิกที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ให้นำไปหักจากเงินได้) (10) ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น (และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ + เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) (11) ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมระยะยาวต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย (12) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท (13) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม (14) เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ + เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท) (15) ค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ (16) ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP : One Tambon One Product) จากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ต้องเป็นการซื้อสินค้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องได้รับใบกำกับภาษีที่ระบุข้อความสินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (17) เงินได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จ ในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ให้ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยหักลดหย่อนตั้งแต่ปีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และให้หักลดหย่อนต่อเนื่องกัน 5 ปี ๆ ละเท่า ๆ กัน ซึ่งต้องปฏิบัติ ดังนี้ (18) เงินบริจาค เป็นรายการลดหย่อนสุดท้ายก่อนนำเงินได้ไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยสามารถหักเงินบริจาคได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (หักลดหย่อนได้เฉพาะที่บริจาคเป็นเงินเท่านั้น) ได้แก่ การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ (ต้องเป็นองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา) 2. การหักลดหย่อนในกรณีผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย 3. การหักลดหย่อนในกรณีกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท 4. การหักลดหย่อนห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ในประเทศไทยคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท 5. การหักลดหย่อนวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ให้หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
ที่มา : http://www.rd.go.th/publish/557.0.html ที่มารูปภาพ : http://www.aommoney.com
|