เมื่อไหร่ถึงจะได้เวลาเพิ่มทุน

การจัดตั้งบริษัทที่ดีขึ้นมาสักบริษัท  ไม่ใช่เรื่องง่าย และบริษัทที่ดี มีความมั่นคง จำเป็นจะต้องมีโครงสร้างทางการเงินที่ดี และเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ เพราะธุรกิจที่ต่างกัน ย่อมต้องการจำนวนเงินที่ต่างกัน มีความเสี่ยงที่ต่างกัน นอกจากนี้ ลักษณะที่ธุรกิจที่ต่างกัน ยังส่งผลถึงจำนวนภาษีที่ต่างกันอีกด้วย

นอกจากนี้หากเรากล่าวถึงโครงสร้างทางการเงินจะไม่พูดถึงหนี้สิน(Liabilities) และส่วนของเจ้าของ(Stockholder’s equity) ก็คงจะไม่ได้ เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างทางการเงิน

ในการเริ่มธุรกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องมีเงินลงทุน ซึ่งก็มาจากสองทางหลัก นั่นก็คือ ทุนทรัพย์ของเจ้าของ หรือส่วนของเจ้าของที่กล่าวในข้างต้น ส่วนเงินกู้จากแหล่งเงินภายนอกนั่นก็คือ หนี้สินนั่นเอง

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อผู้บริหารต้องการขยายบริษัท  เงินทุนจึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งก็มีสองทางเลือก คือ  “การกู้ยืม” ซึ่งเป็นการเพิ่มหนี้สิน อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ “การเพิ่มทุน” หรือการขอเงินทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งมักจะเป็นการออกหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อ เพื่อที่จะได้รักษาสัดส่วนการถือหุ้นเดิมในบริษัท ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าบริษัทที่ใหญ่มักจะมีข้อดีมากกว่าเสมอ แต่ในทางภาษีอากรนั้นบริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็กก็มีข้อดีเช่นกันข้อแตกต่างของสองแหล่งเงินทุนมีหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือผลตอบแทน สำหรับผลตอบแทนของที่เจ้าของจะได้ ก็คือเงินปันผล ในขณะที่ผลตอบแทนของให้กู้ ก็จะได้ในรูปของดอกเบี้ย นอกจากนี้หนี้สินมีระยะเวลาครบกำหนดชำระ หมายความว่า เมื่อใช้เงินต้นและดอกเบี้ยจนครบ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก ในขณะที่เงินทุนของเจ้าของ ไม่ต้องจ่ายคืน แต่เจ้าของเงินทุนนั้น มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลไปเรื่อยๆจนกว่าบริษัทจะเลิกไป หรือล้มละลายไป หากบริษัทยังคงมีความสารถอยู่ แต่เจ้าของเงินทุนต้องการเงินคืน ก็สามารถขายหุ้นไปให้ผู้อื่นได้เช่นกัน

สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า SMEs (Small and Medium Enterprises) ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก” นั้นมีข้อบวกเกี่ยวกับทางด้านภาษีหลายอย่าง

ในทางภาษี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดลักษณะของ SMEs ที่สามารถได้รับผลประโยชน์ทางภาษีไว้ดังนี้

  1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
  2. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
  3. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI
  4. เป็น VC (Venture Capital) ที่ถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
  5. เป็นกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีรายรับไม่เกิน 1.8ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    (ข้อมูลจาก กรมสรรพากร http://www.rd.go.th )

บริษัทที่มีลักษณะของ SMEs ที่ต่างกันก็จะได้รับผลประโยชน์ทางภาษีที่ต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อแรก เรื่อง ทุนจดทะเบียนของบริษัท เพราะบริษัทโดยทั่วไปจะต้องเสียภาษีที่อัตรา 30% ของกำไรสุทธิ แต่สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจะเสียภาษีด้วยอัตราดังต่อไปนี้

นั่นหมายความว่าหากบริษัทคุณมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3 ล้านบาทแรก คุณจะต้องเสียภาษี 900,000 บาท แต่ถ้าหากทุนจดทะเบียนของคุณไม่ถึง 5 ล้านบาท คุณจะเสียภาษีสำหรับสามล้านบาทแรก เพียง 627,500บาท และนั่นหมายความว่าคุณจะสามารถประหยัดเงินภาษีไปได้ถึง 272,500 บาท

ถึงแม้จะดูเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากแต่เงินจำนวนนี้สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้มีการเจริญเติบโตมาก ก็สามารถเก็บไว้เป็นทุนสำหรับขยายกิจการได้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะเพิ่มทุน คุณควรจะมั่นใจว่ากำไรที่คุณได้รับมากพอทีจะชดเชยเงินส่วนนี้ได้ และมีมากเพียงพอทีจะชดเชยผลประโยชน์ที่เสียไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเงิน และจำนวนรายได้ของแต่ละบริษัทด้วย