สาระธุรกิจ

ทำไงดี เช่าออฟฟิตจากบุคคลธรรมดา แต่ไม่ยอมให้หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

กรณี WHT ค่าเช่า ซึ่งเป็นการทำสัญญาเช่ากันระหว่าง บจก. กับ บุคคลธรรมดา ตกลงชำระกันที่เดือนละ 20,000 บาท โดยปกติคือต้องหักไว้ 5% แต่บุคคลธรรมดาไม่ยอมจะขอรับเงินค่าเช่าเต็มจำนวน

กรณีแบบนี้ บจก.ผู้จ่ายเงินต้องเป็นผู้เสีย 5% นั้นเอง
1.เราสามารถระบุ ลงไปในสัญญา ได้มั้ยค่ะ
2.เวลายื่น ภงด.3 มีการคำนวนเหมือนปกติ หรือไม่


#ในแง่บริษัท(ผู้เช่า) ::
> ทุกครั้งที่มีการจ่ายชำระค่าเช่า จะต้องออกหนังสือรับรอง 50 ทวิ ให้ผู้ให้เช่า โดยให้บริษัท ติ๊ก ตรงช่อง ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ตลอดไป
> บันทึกบัญชี รายจ่ายค่าเช่า ต่อเดือน
20,000 + (20,000×5/95) = 21,052.63
> การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ออกให้ตลอดไป)
21,052.63 × 5% = 1,052.63 บาท
> ดังนั้นจะจ่ายค่าเช่าให้ ผู้ให้เช่า 20,000 บาท
( 21,052.63 – 1,052.63 )
> นำส่ง ด้วยแบบ ภงด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (ถ้ายื่นผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป)
> ตอนทำสัญญาเช่าต้องระบุไว้ในหนังสือสัญญาเช่าด้วยว่า ผู้เช่าเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้ให้เช่าด้วย เพราะรายจ่ายค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายของผู้เช่าที่ออกจ่ายแทน จะไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) แต่ถ้าไม่ระบุ ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทน จะไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้
> เวลาบันทึกบัญชี (กรณีผู้เช่าเป็นผู้จ่าย) ::
เดบิท ค่าเช่า
เดบิท ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ออกแทน
เครดิต เงินสด
เครดิต ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย


เพิ่มเติม #ภาษีโรงเรือน ::

ปกติ ถ้าสัญญาเช่าไม่กำหนดไว้ #ผู้เช่า #ต้องเป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือนครับภาษีโรงเรือน เป็นหน้าที่ที่ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์จะต้องมีหน้าที่เป็นผู้เสียครับ ดังนั้นทางเขตจะมาประเมินกับทางผู้ให้เช่า(เจ้าของตึก) เองครับ และใบเสร็จที่ทางเขตออกให้ก็จะเป็นชื่อของเจ้าของตึกครับ แต่จะมีการตกลงกันว่า จะผลักภาระภาษีโรงเรือนให้กับทางผู้เช่านั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

#หลักในการคำนวณภาษีโรงเรือน #จะคำนวณมาจากรายรับทั้งปีที่ทางเจ้าของตึกที่ได้รับ คูณด้วย 12.5% ต่อปีครับ ก็จะออกมาเป็นภาษีโรงเรือน (เพียงแต่เจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจประเมินตัวฐานให้สูงกว่าเงินที่ทางเจ้าของตึกได้รับก็ได้ครับ)

ภาษีโรงเรือน จะจ่ายเพียงทอดเดียว จะไม่มีการจ่ายซ้ำซ้อน เพียงแต่มีหลักว่า ภาษีโรงเรือน เป็นหน้าที่ ที่เจ้าของตึก จะต้องเป็นผู้เสีย

แต่ถ้าหาก มีการผลักภาระภาษีโรงเรือนให้ ผู้เช่า เป็นผู้จ่าย #ทางเจ้าของตึกจะต้องนำตัวภาษีโรงเรือนที่ทางผู้เช่าออกให้ #ไปรวมเป็นฐานของรายได้ด้วยครับ (ทำให้ฐานของรายได้ของเจ้าของตึกสูงขึ้นครับ) เช่น

เจ้าของตึกให้เช่าเดือนละ 20,000 บาท ปีละ 240,000 บาท

หากเจ้าของตึก ไม่ผลักภาระ ก็จะคำนวณภาษีโรงเรือนได้เท่ากับ 240,000*12.5% เท่ากับ 30,000 บาท

แต่เมื่อมีการผลักภาระภาษีดังกล่าว ให้กับผู้เช่า จึงจะต้องถือว่า เจ้าของตึกมีรายได้ เท่ากับ 240,000 + 30,000 = 270,000 บาทครับ

ถ้าจะพิจารณาถึงความยุติธรรม มันเป็นเรื่องของการตกลงกัน ระหว่าง ผู้เช่า และ ผู้ให้เช่า อีกทั้งตอนที่จะเซ็นสัญญาเช่า ก็ได้มีการระบุไว้แล้ว หากคิดว่าไม่ยุติธรรม ก็ไม่ควรทำสัญญาเช่าตั้งแต่แรกแล้วครับ

admin

Share
Published by
admin
Tags: จดทะเบียนบริษัทcovid2564จดทะเบียนบริษัทบุคคลรายได้เยอะจดทะเบียนบริษัทสรรพกรเรียกจดทะเบียนบริษัทโควิด2021ที่ปรึกษาทางกฎหมายปิดงบการเงินCovid-19ปิดงบการเงินช่วงโควิด19ปิดงบการเงินย้อนหลังปิดงบการเงินโควิด-19ปิดงบย้อนหลังหลายปีปิดงบเปล่าย้อนหลังยื่นงบการเงินล่าช้ายื่นงบย้อนหลังยื่นภาษีย้อนหลังยื่นภาษีร้านค้ารับจดทะเบียนบริษัท ซื้อที่ดินต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อบ้านต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัทดูช่วงเวลาดีรับจดทะเบียนบริษัทดูฤกษ์รับจดทะเบียนบริษัทวันดีรับจดทะเบียนใกล้ฉันรับจัดการมรดกรับทำบัญชีชาวต่างชาติรับทำพินัยกรรมรับปิดงบการเงินชาวต่างชาติรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อที่ดินรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อบ้านรับวางระบบบัญชีหาผู้สอบบัญชีเข้าสู่ระบบภาษีเคลียร์ปัญหาภาษีเปิดบริษัทเปิดบริษัทแต่ไม่เคยปิดงบ

This website uses cookies.