สาระธุรกิจ

พนักงานประจำ VS ฟรีแลนซ์ รายได้แบบไหนที่คุณต้องการ

สบายๆปลายปีแล้วก็คงจะเป็นช่วงที่หลายๆคนกำลังคิดกันแล้วว่าปีหน้าจะทำอะไร คิดถึงตัวเองในวันอดีตที่กำลังเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อชีวิตมาก ตอนนั้นคิดอยู่ว่าจะเอายังไงกับชีวิต ได้โบนัสแล้วจะย้ายงานไหม หรือลาออกจากงานประจำไปทำงานอิสระดีเพราะรายได้และวิถีชีวิตมันมีความแตกต่างกันอยู่มาก

วันนี้ก็เลยมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะครับว่ารายได้แบบงานประจำของมนุษย์เงินเดือนกับรายได้แบบฟรีแลนซ์มันมีข้อแตกต่างอย่างไร เผื่อจะไปเอาพิจารณากันดูว่าแบบไหนที่ชอบนะครับ

รายได้พนักงานประจำ : รายได้ที่มีการตกลงกับผู้ว่าจ้างว่าจะได้เงินเดือนทุกเดือน มีโบนัสและสวัสดิการ ป่วยเบิกได้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม มีวันหยุดจำกัดตามกติกา ฯลฯ

รายได้แบบฟรีแลนซ์ : รายได้ที่เราทำงานตามที่ตกลงกับผู้ว่าจ้างเป็นงานๆไป งานจบจ่ายเงิน ไม่มีโบนัส ไม่มีสวัสดิการ เราจะต้องบริหารจัดการเอง อยากหยุดวันไหนก็หยุด อยู่บ้านทำงานก็ได้

ชีวิตทั้ง 2 แบบมันมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันเยอะเหมือนกันนะครับ เชื่อว่าหลายคนอยากออกจากงานประจำเพราะอิสระดี รายได้เยอะ แต่หลายคนที่ทำฟรีแลนซ์ก็มองว่าการทำงานประจำมีเงินเดือนให้ตลอด ไม่ต้องมาไล่หาเงินรายวันอย่างเหนื่อยเลย เดี๋ยวผมจะเปรียบเทียบมิติต่างๆให้อ่านนะครับ

จำนวนและความสม่ำเสมอของรายได้

โดยส่วนใหญ่แล้วเราพูดกันตรงๆได้เลยว่าการทำงานประจำมันคล้ายๆการเหมาจ่ายเป็นเดือนไปตามข้อตกลงในงาน จะทำมากทำน้อยเงินเดือนก็อยู่เท่านั้นล่ะ แต่ก็จะดีที่มีโบนัสและการขึ้นเงินเดือนให้ในปีต่อไป แต่นี่ก็เป็นข้อดีของคนทำงานประจำนะ เพราะหากเรามีภาระทางการเงิน ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ มันก็ยังมีเงินเข้ามาให้เราอย่างมั่นคงและสม่ำเสมอ สามารถวางแผนได้ง่าย

แต่ในขณะเดียวกันคนที่ทำงานฟรีแลนซ์จะไม่ถูกกำหนดอยู่ในกรอบของรายได้ รับงานมาทำมาก รายได้ก็มาก รับงานมาชิวๆขี้เกียจเงินก็จะน้อยตามไป ไม่มีกรอบของรายได้อาจจะแปลว่าไม่มีรายได้ก็ได้ แต่ถ้าเดือนไหนขยันๆก็เห็นหลายคนมีรายได้กันเป็นแสนเป็นล้านได้อยู่เหมือนกัน ต้องรับผิดชอบตัวเองล้วนๆเพราะไม่มีการตอกบัตรเข้าทำงาน ซึ่งในจุดนี้หากพนักงานประจำต้องการจะก้าวไปสู่เงินเดือนหลักแสนหลักล้านก็ต้องทำงานให้ไปอยู่ในระดับผู้บริหารจึงมีโอกาสจะได้เงินเดือนในอัตรานี้ได้

นอกจากนี้แล้วความสม่ำเสมอของรายได้เนี่ยที่สร้างความได้เปรียบให้พนักงานประจำในการขอเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ เปิดวงเงินบัตรเครดิต ในขณะที่พนักงานฟรีแลนซ์บางทีรายได้เยอะแต่เขามองว่ามันไม่สม่ำเสมออาจจะมีความเสี่ยงต่อคนปล่อยเงินกู้ได้ ยกเว้นคุณจะมีเงินเยอะๆฝากไว้ในธนาคารเลยก็จะทำให้เรื่องทุกอย่างง่ายขึ้น (แต่ถ้ามีเงินเยอะๆแล้วจะกู้เงินทำไมนะสิ)

การวางแผนการเงินและวิธีการออมเงิน

คล้ายๆกับข้อแรกครับ พนักงานประจำนั้นสามารถวางแผนได้ง่ายกว่า เมื่อเงินเดือนออกก็รู้เลยว่าจะเก็บเงินเท่าไหร่เอาไว้ทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย การผ่อนหนี้ การลงทุน ส่วนคนที่ทำงานฟรีแลนซ์อาจจะต้องวางแผนการเงินในอนาคตที่เคร่งครัดกว่า บางครั้งได้เงินมาจากการทำงาน 1 แสน แต่ไม่มีงานเลย 3 เดือน บางเดือนผมรายได้เป็น 0 ก็มี ก็ต้องจัดการดีๆว่าเงินก้อนนี้จะอยู่อย่างไรให้ได้พร้อมมีเงินเก็บ การใช้จ่ายก็ควรจะระมัดระวังกว่า

โดยปกติในฐานะที่ผมทำฟรีแลนซ์ผมเองก็จะมีเป้าหมายว่าจะต้องมีรายได้เท่าไหร่ โดยสำรวจรายจ่ายของตัวเอง และต้องมีงานให้ได้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก็คือเงินเก็บที่ต้องสำรองไว้เผื่อไม่มีงานในอนาคต เช่นการกันเงินสำรองเอาไว้เผื่อใช้ในเดือนต่อๆไป แต่เมื่อเก็บเงินได้มากก็จะต้องนำไปลงทุนเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน

การบริหารเงินในส่วนของภาษี

สำหรับคนที่ทำงานประจำแล้วเรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ง่ายมากเพราะมีฝ่ายบัญชีของบริษัทคอยติดตามให้ และการคำนวณฐานเงินเดือนก็จะมีการหักภาษีตามฐานจากการคำนวณอัตราเงินเดือน สามารถคำนวณได้ว่าจะต้องลดหย่อนภาษีอย่างไรและจะเอาเงินส่วนไหนมาซื้อ LTF RMF ประกัน โดยส่วนใหญ่แล้วตอนยื่นแบบแสดงรายได้จะยื่นไม่ยากครับ ตอนสมัยผมทำงานประจำแทบจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มเลยเพราะถูกหักไปตามฐานแล้ว

ส่วนตอนเป็นฟรีแลนซ์เวลารับรายได้นั้นคำนวณภาษีค่อนข้างยากหน่อยเพราะรายได้แต่ละเดือนไม่เท่ากัน จะซื้อ LTF แบบ DCA รายเดือนก็เกรงว่าหากปลายปีไม่มีงานจะกลายเป็นซื้อเกินเข้าไปอีก ลักษณะของภาษีที่หักนั้น ฟรีแลนซ์ก็ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเช่นกัน โดนในอัตรา 3% บ้าง (ค่าจ้าง ค่าบริการ) 5% บ้าง (ออกทีวี บางทีก็ต้องเป็นดราคา ค่าลิขสิทธิ์จากการเขียนหนังสือ) ฯลฯ บางคนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปก็เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการจ่ายภาษีทั้งหมดแล้ว แต่สุดท้ายเราต้องเอาทุกอย่างมาคำนวณว่ามีรายได้จากตรงไหนบ้างและต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่ พูดง่ายๆก็คือ ถ้าเราต้องจ่ายภาษี 10% เราโดนหักไป 3% มันไม่จบนะ มันต้องบริหารเงินเพื่อเอามาจ่ายเพิ่มอีกในส่วนที่เหลือ เป็นฟรีแลนซ์แล้วบริหารเงินไม่ดีก็โดนเรื่องภาษีได้ง่ายๆเลย บางทียื่นไม่ครบก็โดนปรับได้ด้วยครับ

จากที่เล่าเรื่องการเงินของมนุษย์เงินเดือนกับฟรีแลนซ์แล้ว หลายคนก็คงมองว่ามนุษย์เงินเดือนดูจะมั่นคงกว่า (ในเชิงของความสม่ำเสมอ) แต่สำหรับฟรีแลนซ์หลายๆคนก็มองว่าหากเขาขยันมันก็จะกลายเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอแบบก้อนใหญ่ๆได้เช่นกันนะครับ ตรงนี้มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะเป็นแบบไหน เรายอมรับความเสี่ยงต่อการเงินได้หรือเปล่าเพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือฟรีแลนซ์หากเราไม่ขยันทำงาน สุดท้ายก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ในการแข่งขันอยู่ดีครับ เดี๋ยวนี้ใครๆก็มีความเสี่ยงเรื่องไม่มีงานและโดนไล่ออกได้ครับ

admin

Share
Published by
admin
Tags: จดทะเบียนบริษัทcovid2564จดทะเบียนบริษัทบุคคลรายได้เยอะจดทะเบียนบริษัทสรรพกรเรียกจดทะเบียนบริษัทโควิด2021ที่ปรึกษาทางกฎหมายปิดงบการเงินCovid-19ปิดงบการเงินช่วงโควิด19ปิดงบการเงินย้อนหลังปิดงบการเงินโควิด-19ปิดงบย้อนหลังหลายปีปิดงบเปล่าย้อนหลังยื่นงบการเงินล่าช้ายื่นงบย้อนหลังยื่นภาษีย้อนหลังยื่นภาษีร้านค้ารับจดทะเบียนบริษัท ซื้อที่ดินต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อบ้านต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัทดูช่วงเวลาดีรับจดทะเบียนบริษัทดูฤกษ์รับจดทะเบียนบริษัทวันดีรับจดทะเบียนใกล้ฉันรับจัดการมรดกรับทำบัญชีชาวต่างชาติรับทำพินัยกรรมรับปิดงบการเงินชาวต่างชาติรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อที่ดินรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อบ้านรับวางระบบบัญชีหาผู้สอบบัญชีเข้าสู่ระบบภาษีเคลียร์ปัญหาภาษีเปิดบริษัทเปิดบริษัทแต่ไม่เคยปิดงบ

This website uses cookies.