สาระธุรกิจ

หจก. กับ บจก. ต่างกันอย่างไร

#ข้อแตกต่างคร่าวๆ
ระหว่าง #หจก. กับ #บจก.

หจก. ต้องมีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ #จำกัดความรับผิดชอบ #และไม่จำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ ##ไม่มีสิทธิ์เซ็นเช็ค) ครับ
ส่วนบจก. #ทุกคนจำกัดความรับผิดชอบ ครับ

ตัวอย่าง :: นาย ก และ นาย B จัดตั้ง หจก. โดยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทั้งคู่ โดยลงทุน คนละครึ่งเท่าๆ กัน แบบนี้ถือว่า นาย ก และ นาย B เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบทั้งคู่

#แบบนี้ ไม่สามารถจดจัดตั้ง หจก. ได้ครับ #เพราะมีหุ้นส่วนแค่จำพวกเดียวไม่ครบ 2 จำพวกครับ


#ความรับผิดชอบในหนี้สิน :
หจก.
– จำกัดความรับผิดชอบ #รับผิดชอบตามเงินลงทุน
– ไม่จำกัดความรับผิดชอบ #รับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด (#รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวด้วย)

บจก. #รับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนที่ยังไม่ได้ชำระ


#การบริหารงาน :
หจก. ต้องปรึกษาหุ้นส่วน
บจก. บริหารงานโดยคณะกรรมการ


#การรับรองงบการเงินประจำปี :
หจก. ไม่ต้องลงโฆษณา
บจก. ต้องลงโฆษณาเชิญประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ปีละครั้ง


#ผู้เซ็นต์รับรองงบการเงินประจำปี :
หจก. TA หรือ CPA
บจก. CPA


#จำนวนผู้เริ่มจดจัดตั้ง :
หจก. อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป (จำกัดและไม่จำกัด อย่างน้อยจำพวก ละ 1 คน)
บจก. 3 คนขึ้นไป


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1013 ได้กำหนดห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา คำนำหน้าชื่อห้างหุ้นส่วนใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ถ้าไม่ได้ระบุลงในสัญญาห้าง ตามกฎหมายให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คำนำหน้าชื่อห้างหุ้นส่วนใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียวคือหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน และในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง จะตกลงให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนก็ได้

2. #ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ได้แก่

2.1 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนจำพวกนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างได้

2.2 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่ได้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญคือ
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้
3. ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้
4. จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
5. เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
6. เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
3. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
4. ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
5. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
6. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

+ #ห้างหุ้นส่วนจำกัด
จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเสมอ จะไม่จดทะเบียนไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 1078 วรรค 1 จึงเป็นข้อแตกต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญ เพราะห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้

#ผู้ที่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้นั้น #จะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ( มาตรา 1067 )

 

admin

Share
Published by
admin
Tags: จดทะเบียนบริษัทcovid2564จดทะเบียนบริษัทบุคคลรายได้เยอะจดทะเบียนบริษัทสรรพกรเรียกจดทะเบียนบริษัทโควิด2021ที่ปรึกษาทางกฎหมายปิดงบการเงินCovid-19ปิดงบการเงินช่วงโควิด19ปิดงบการเงินย้อนหลังปิดงบการเงินโควิด-19ปิดงบย้อนหลังหลายปีปิดงบเปล่าย้อนหลังยื่นงบการเงินล่าช้ายื่นงบย้อนหลังยื่นภาษีย้อนหลังยื่นภาษีร้านค้ารับจดทะเบียนบริษัท ซื้อที่ดินต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อบ้านต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัทดูช่วงเวลาดีรับจดทะเบียนบริษัทดูฤกษ์รับจดทะเบียนบริษัทวันดีรับจดทะเบียนใกล้ฉันรับจัดการมรดกรับทำบัญชีชาวต่างชาติรับทำพินัยกรรมรับปิดงบการเงินชาวต่างชาติรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อที่ดินรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อบ้านรับวางระบบบัญชีหาผู้สอบบัญชีเข้าสู่ระบบภาษีเคลียร์ปัญหาภาษีเปิดบริษัทเปิดบริษัทแต่ไม่เคยปิดงบ

This website uses cookies.