เป็นคำถามมากมายสำหรับเจ้าของกิจการ
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ VAT คือ !!!
วันนี้เรามาดูกันครับว่า…
ใบกำกับภาษีต้องจัดทำตอนไหน
เมื่อไหร่ และเวลาใด
เนื่องจากการออกใบกำกับภาษี มันมีความหมายตรงๆ ก็คือ
เดือนถัดไปคุณต้องนำภาษีขายที่เกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว
ไปจ่ายให้กรมสรรพากรครับ… อิอิ
ดังนั้นหากคุณออกใบกำกับภาษีมั่ว ออกใบกำกับภาษีไม่ถูกเวลา
หรือออกใบกำกับภาษีก่อนเวลาที่ต้องออก นั่นหมายความว่า
เงินทองของคุณกำลังรั่วไหลอยู่ เหมือนจ่ายเงินก่อนกำหนดเวลา
โดยไม่จำเป็นครับ…
เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว ผมจึงสรุป
“กำหนดเวลาที่ต้องออกใบกำกับภาษี”
แบบเป็นขั้นตอนและเข้าใจง่าย มาให้ดังนี้ครับ
ขั้นที่ 1 คุณต้องแยกให้ออกก่อนว่ากิจการของคุณเป็นลักษณะใด
– ขายสินค้า
– ให้บริการ
ขั้นที่ 2 ง่าย ๆ ครับ เมื่อแยกได้แล้วให้เปรียบเทียบครับว่า…
ในตารางด้านล่างนี้ เกิดอะไรก่อนกัน
ก็ให้ถือว่าวันนั้นแหละครับ
เป็นวันที่ต้องออกใบกำกับภาษีครับ (เห็นไหมง่ายมาก…)
กรณีขายสินค้า | กรณีให้บริการ |
– วันที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าก่อน – วันที่รับเงินจากลูกค้าก่อน – วันที่พบสินค้าหายจากสต็อกก่อน – วันที่เอาสินค้าไปใช้ส่วนตัวก่อน – วันที่ออกใบกำกับภาษีก่อน | – วันที่รับเงินจากลูกค้าก่อน – วันที่ใช้บริการด้วยตัวเองก่อน – วันที่ออกใบกำกับภาษีก่อน
|
ปล.ทั้งสองกรณี ถ้าสังเกตในตารางดี ๆ คุณจะพบคำว่า “วันที่ออกใบกำกับภาษีก่อน”
ข้อความดังกล่าวหากตีความหมายตรง ๆ ก็คือ+++
“ตารางข้างบนทั้งหมดนั่นน่ะ หากอยู่ดี ๆ คุณดันเผลอไปออกใบกำกับภาษีก่อนส่งสินค้า”
“ออกใบกำกับภาษีก่อนรับเงิน หรือออกใบกำกับภาษีก่อนกิจกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น”
“ก็ให้ถือวันนั้นแหละ เป็นวันเตรียมเสียภาษีได้เลย” ฮ่าฮ่า…
ข้อควรระวัง
ดังนั้น หากมีกรณีลูกค้าของคุณมาขอร้องให้เปิดใบกำกับภาษี ก่อนการส่งของ
ก่อนการให้บริการ หรือ ก่อนการชำระเงิน หรือก่อนการทำใดๆ ทั้งสิ้น
ให้คุณพิจารณาก่อนครับว่า คุณพร้อมจ่ายภาษีจำนวนนั้นหรือยัง
เพราะทั้งหมดนั้นมันหมายความว่า…
“ภาษีที่เกิดในใบกำกับภาษีนั้นคุณต้องรับผิดชอบก่อนเวลาอันควรครับ”
This website uses cookies.