อาจเป็นจริงว่าการลงทุนและทากาไรในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวและไม่มีหลักการใดที่ไม่มีข้อยกเว้น เรา มักจะมีข้อมูลหรือเหตุผลบางประการซึ่งมีน้าหนักในการโต้แย้งกฏเกณฑ์นั้นๆ ในตอนนี้ จึงขอนาเสนอ ‘เคล็ดลับ 10 ประการ’ ซึ่งรวบรวมจากแนวคิดพื้นฐานที่นักลงทุนควรทราบ เพื่อช่วยให้นักลงทุนมีความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อการจะเข้าลงทุนในตลาดหุ้น และสาหรับผู้ลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสมที่คาดหวังผลตอบแทนในหุ้น ก็จะเกิดความเข้าใจธรรมชาติของตลาดหุ้นได้มากขึ้น
1. ขายขาดทุนและถือหุ้นคุณภาพดี
นักลงทุนจะพึงพอใจถ้าขายหุ้นแล้วได้กาไร และมักจะถือหุ้นที่ราคาตก โดยมีความหวังว่า ราคาจะสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งนักลงทุนไม่ทราบว่าหุ้นที่ถืออยู่ถึงเวลาที่ควรขายหรือไม่ และถ้าเลวร้ายสุดๆ อาจจะตกถึงจุดที่เกือบไม่มีค่าก็ได้ แน่นอนที่สุด หลักคิดในการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูงและยอมขายหุ้นที่ไม่ดีออกไป เป็นทฤษฎีที่ถูกต้องแต่ปฏิบัติได้ยาก
2. ไม่ไล่ล่าหรือตามกระแส
กระแสหรือคาแนะนาที่มาจากแหล่งต่างๆ เช่น ญาติ เพื่อนบ้าน โบรกเกอร์ อาจจะไม่เพียงพอ และคุณไม่ควรที่จะเชื่อและตัดสินใจลงทุนตามทั้งหมด ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ วิเคราะห์บริษัท อาจต้องทาวิจัยด้วยตัวเอง ก่อนที่จะพิจารณาลงทุนด้วยเงินของคุณที่หามาด้วยความยากลาบาก การอาศัยข้อมูลจากคนอื่นอาจจะเป็นวิธีที่ง่าย แต่รูปแบบจะคล้ายคลึงกับการพนันและการเสี่ยงโชคมากกว่า ไม่ใช่นักลงทุนที่จะประสบความสาเร็จในระยะยาว
3. ไม่คิดเล็กคิดน้อย
นักลงทุนระยะยาวไม่ควรตื่นตกใจเมื่อเงินลงทุนมีราคาตลาดต่าลงในช่วงสั้นๆ ในการลงทุน เราควรมองในภาพรวม มั่นใจในคุณภาพของการลงทุน มากกว่าจะไปวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวน ความไม่แน่นอนในระยะสั้น
พวกที่เล่นสั้นหรือนักเก็งกาไรจะต้องติดตามตลาดวันต่อวัน นาทีต่อนาที เพื่อหาจังหวะทากาไร (หรือขาดทุน) ต่างกับนักลงทุนระยะยาว นักลงทุนที่ดีต้องมองการเคลื่อนไหวของตลาดในระยะยาว โฟกัสไปที่ภาพรวมของการลงทุนทั้งหมด ให้ความสาคัญต่อการเรียนรู้การลงทุนด้วยตัวเองโดยใช้เวลาหลายๆ ปี
4. ไม่เน้น P/E Ratio
P/E Ratio เป็นหนึ่งในเครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อหรือขาย แต่ในความเป็นจริง ควรใช้ P/E Ratio ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์อื่นๆ ร่วมด้วย การที่หุ้นมี P/E Ratio ต่า ไม่ได้แปลว่าหลักทรัพย์นั้นมีมูลค่าต่ากว่าความเป็นจริง (Undervalues) และการที่หุ้นมี P/E Ratio สูง ก็ไม่จาเป็นต้องหมายความว่าหลักทรัพย์นั้นมีราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น (Overvalues)
5. รู้จักธรรมชาติของราคาหุ้น
เรามักจะเข้าใจผิดกันว่า การซื้อหุ้นที่ราคาต่ากว่า จะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า เช่น ซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาท เทียบกับซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 75 บาท ถ้าหุ้นทั้งคู่ตกลงไป 30% คุณก็ขาดทุนในอัตรา 30% เท่ากัน ไม่ว่าราคาซื้อดั้งเดิมจะเป็นเท่าไรต่อหุ้น ดังนั้น นักลงทุนควรให้ความสาคัญต่อความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัวมากกว่า
6. เลือกและยึดมั่นในกลยุทธ์ของตนเอง
นักลงทุนต่างใช้วิธีการที่แตกต่างกันเพื่อเลือกหุ้นและลงทุนตามเป้าหมาย มีหลายวิธีที่จะประสบความสาเร็จ และกลยุทธ์ในการลงทุนก็มักจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณค้นหาสไตล์การลงทุนของคุณที่พอใจจนพบแล้ว ก็ควรที่จะยึดถือและใช้ให้เกิดความชานาญ การใช้นโยบายหรือกลยุทธ์ในการลงทุนที่แตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่น่าที่จะมีประสิทธิภาพที่ดีพอ และควรหลีกเลี่ยง
7. มุ่งเน้นอนาคต
สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนส่วนมากคือ ข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ควรตระหนักว่า เราใช้ข้อมูลหรือเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ได้ การตัดสินใจบนพื้นฐานและการมองศักยภาพของหลักทรัพย์ในอนาคตสาคัญมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
8. ใช้มุมมองระยะยาว
กาไรระยะสั้นมักเป็นสิ่งดึงดูดใจสาหรับนักลงทุนหน้าใหม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การทากาไรจากซื้อขายบ่อยๆ ในระยะสั้น จะไม่มีวันทาได้ แต่ควรทราบว่า Investing (การลงทุน) กับ Trading (การซื้อๆ ขายๆ เพื่อเก็งกาไร) มีวิธีการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่ง Trading จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันสาหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นคนละประเภท ดังนั้น หากต้องการทากาไรในระยะสั้นๆ แบบ Trading ก็จะต้องมีทักษะและความสามารถเฉพาะตัวสูง รวมถึงต้องมีเวลาในการติดตามข้อมูลหลักทรัพย์นั้นๆ กับติดตามราคาตลาดตลอดเวลา
9. ใจกว้าง
หลักทรัพย์หรือบริษัทขนาดเล็กอาจมีศักยภาพในการเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนและมีผลประกอบการกับสภาพคล่องที่เทียบเท่าหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในปี 1926 – 2001 หุ้นบริษัทเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกามีผลตอบแทนเฉลี่ย 12.27% ในขณะที่หุ้นบริษัทใหญ่ๆ ใน S&P 500 มีผลตอบแทนเฉลี่ย 10.53% อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้แนะนาว่าคุณควรปรับพอร์ตการลงทุนทั้งหมดเป็นหุ้นเล็ก
10. ห่วงใยภาษีได้แต่ไม่ต้องวิตก
ถึงแม้ว่าภาษีจะมีความเกี่ยวข้องและสาคัญต่อการลงทุน แต่ควรห่วงใยเรื่องภาษีเป็นอันดับสอง สิ่งที่สาคัญที่สุดในการลงทุนคือ เป้าหมายของการลงทุน ซึ่งหมายถึงการเติบโตและความมั่นคงปลอดภัยของเงินลงทุน การที่เราควรพยายามลดจานวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นภาษีให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มผลตอบแทนหลังจ่ายภาษีให้มากที่สุด เป็นสิ่งที่ดีมากๆ แต่สถานการณ์หรือการตัดสินใจในการลงทุนจะยากขึ้น ถ้าคุณพิจารณาในเรื่องภาษีเหนือสิ่งอื่นใด
เคล็ดลับ 10 ประการนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สาหรับนักลงทุนระยะยาว ทั้งในเรื่องหลักการและภาพรวมอย่างไรก็ตาม กฏเกณฑ์ใดๆ ย่อมมีข้อยกเว้นได้เสมอ และที่สาคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การลงทุนที่ดีไม่ใช่การพนัน
This website uses cookies.