คำแนะนำการกรอกและยื่นแบบ ภ.พ.36

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 ได้แก่

(1) ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ (ก) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบ กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ (ข) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการ ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หรือ (ค) ผู้ประกอบการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ปัจจุบันยังไม่กำหนด)

(2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้มี การขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษ ของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าวที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(3) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือส่วนราชการ ซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและนำส่งเงินภาษี ให้ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษียื่นแบบ ภ.พ.36 พร้อมทั้งนำส่งภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมีภูมิลำเนา หรือสำนักงานตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาดังนี้

1. กรณีเป็นผู้จ่ายเงินฯ ตาม (1) หรือเปนผู้ทอดตลาดฯ ตาม (3) ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ ผู้ประกอบการตาม (1) หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนตาม (3) แล้วแต่กรณี

2. กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการตาม (2) ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับมากกว่า 1 ราย หรือ จ่ายเงินได้พึงประเมินมากกว่า 1 ประเภท ให้แยกยื่นแบบ ภ.พ.36 แยกเป็นแต่ละรายผู้รับ และหรือแยกเป็นแต่ละรายประเภทการจ่ายเงิน แล้วแต่กรณี

วิธีการกรอกแบบ

โปรดกรอกรายการให้อ่านได้ง่ายชัดเจน โดยการเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขที่สาขาของสถานประกอบการ ชื่อผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ และหมายเลขโทรศัพท์ ให้ครบถ้วนชัดเจน

ให้ระบุว่าเป็นกรณีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะใดเป็นการ ยื่นปกติหรือยื่นเพิ่มเติมครั้งที่เท่าไร โดยให้ทำเครื่องหมาย ” √” ลงใน ช่อง  หน้าข้อความนั้น พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดแล้วแต่กรณี คือ จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการ รับโอนสินค้าฯ ขายทอดตลาดการคำนวณภาษี

1. จำนวนเงินที่จ่าย ให้กรอกจำนวนเงินที่จ่ายจริง หรือราคาขาย ทอดตลาดแล้วแต่กรณี

2. จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง ให้กรอกจำนวนเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง กรณีนำส่งภาษีเกินกำหนดเวลาหรือไม่ถูกต้อง

3. เงินเพิ่ม ในกรณีผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มมิได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในเวลาที่กำหนด จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณ เงินเพิ่มเปนรายเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่ง ภาษีของเดือนภาษีนั้น จนถึงวันยื่นแบบ ภ.พ.36 และนำส่งภาษี

4. เบี้ยปรับ (ถ้ามี) กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิใน บริการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.36 ภายในเวลาที่กำหนด จะต้องคำนวณและชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของเงินภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งเบี้ยปรับดังกล่าวอาจขอลดได้ตาม ระเบียบที่อธิบดีกำหนด ให้กรอกจำนวนที่ขอลดได้แล้วตามระเบียบฯ แบบ ภ.พ.36 ที่ผู้ประกอบการยื่นเกินกำหนดเวลาหรือยื่นเพิ่มเติม ถือเป็นคำร้องขอลดเบี้ยปรับด้วย ผู้นำส่งภาษีจะได้รับอนุมัติให้ลดเบี้ยปรับ ตามระเบียบฯ ในทันทีที่ยื่นแบบ ภ.พ.36

5. รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ (2.+3.+4.) ให้กรอกจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งตาม 2. เงินเพิ่มตาม 3. และเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ตาม 4. ให้ผู้นำส่งภาษีลงลายมือชื่อ และในกรณีเป็นนิติบุคคลให้ประทับตรา นิติบุคคล (ถ้ามี) ด้วย พร้อมทั้งกรอกวันเดือนปที่ยื่นแบบฯ