ประเภทของธุรกิจ ผมมองว่าเป็นสิ่งที่มีผลในการกำหนดทิศทางของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเรื่องเงิน และเรื่องต่างๆในการทำธุรกิจ ดังนั้นเรามารู้จักสิ่งที่เรียกว่า ประเภทของธุรกิจกันก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่าธุรกิจของเรานั้นเป็นประเภทไหนระหว่าง “บุคคลธรรมดา” กับ “นิติบุคคล”
สำหรับบุคคลธรรมดานั้นจะประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ คณะบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
เจ้าของคนเดียว
คือ การธุรกิจด้วยตัวเราคนเดียว เมื่อได้กำไรหรือขาดทุนก็จะมีผลต่อตัวเราเพียงคนเดียว ซึ่งข้อดีก็คือความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น คนค้าขายทั่วไปที่เราพบเห็นกันนี่แหละครับ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมลงทุนและดำเนินกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการทำธุรกิจและรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญแบบที่ไม่ได้จดทะเบียน จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จะถือว่าเป็นนิติบุคคลครับ (ตรงนี้สังเกตชื่อดีๆนะครับ ไม่ยาก)
คณะบุคคล
คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกระทําการที่มีเงินได้พึงประเมินร่วมกันอันมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญครับ นี่คือนิยามใหม่ที่ปรับปรุงตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาครับ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลนั้นไม่เหมาะแก่การใช้งานอีกต่อไปครับ เนื่องจากเหตุผลของการเสียภาษีที่ซ้ำซ้อนระหว่างกัน ดังนั้นคำแนะนำของผมตรงนี้คือ หากคุณเลือกทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา การอยู่ในรูปแบบเจ้าของคนเดียว น่าจะเป็นทางออกที่ง่ายและดีที่สุดครับ
ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดครับ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด
อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่แรกครับว่า สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน จะมีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญ เพียงแต่มีการจดทะเบียนขึ้นมาเป็นนิติบุคคลครับ ส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีข้อแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ จะมีหุ้นส่วนบางคนเรียกว่า หุ้นส่วนจำกัด ถูกจำกัดหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านหนี้สินของกิจการไว้เพียงเงินลงทุนของตัวเองครับ
บริษัทจำกัด
เป็นรูปแบบของการดำเนินงานที่มีการจัดตั้งโดยคนตั้งแต่ 3 คนขึ้น และไปใช้การวิธีการเข้าร่วมลงทุนโดยการกำหนดทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่าๆกัน และเราจะเรียกคนเหล่านั้นว่า “ผู้ถือหุ้น” โดยมีความรับผิดชอบเท่ากับมูลค่าของหุ้นที่ซื้อไว้เท่านั้นครับ
บอกตรงๆครับว่า “ไม่รู้” เพราะมีปัจจัยมากมายหลายหลากในการตัดสินใจ ดังนั้นให้ปรึกษาและเลือกให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจครับผม ทีนี้หลายคนอาจจะโต้แย้งขึ้นมา ด้วยคำพูดที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า “ถ้าอยากประหยัดภาษี ให้เลือกจดทะเบียนแบบนิติบุคคล” ใช่ไหมครับ สำหรับเรื่องนี้ผมจะมีคำอธิบายในตอนต่อไปครับผม ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
ที่มา https://flowaccount.com
This website uses cookies.