เงินเดือนเข้าบัญชีแล้ว!! ขอปรบมือรัวๆๆๆ อารมณ์ส่วนใหญ่ของเราช่วงสิ้นเดือนจะคล้ายๆแบบนี้ แต่พอผ่านไปสักพักมารู้ตัวอีกทีเงินหายเกือบเกลี้ยง กระเป๋าแล้ว เงินไม่ได้เล่นมายากลล่องหนหายไปไหน แต่มันเกิดจากพฤติกรรมการใช้เงินของเราต่างหาก ที่ทำให้เงินหมดไปอย่างไม่รู้ตัว มีวิธีการใช้เงินอะไรบ้างที่ทำให้เงินเราล่องหนหายไปมาดูกันเลยจ้า
1.เลือกค่าโทรศัพท์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
หลายคนชอบเลือกโปรโมชั่นที่เผื่อไว้ก่อนว่า “อาจจะได้ใช้” โปรฯโทรเยอะและเล่นเน็ตแบบไม่จำกัด ทำให้เสียค่าโทรศัพท์ค่อนข้างสูง แต่เวลาใช้งานจริงแทบไม่เคยใช้ถึงโปรโมชั่นที่เลือกเลยไว้สักครั้ง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น ดังนั้น เพื่อป้องกันเงินของเราล่องหนหายไปควรสังเกตพฤติกรรม การใช้โทรศัพท์ของตนเองว่าเน้นโทรหรือเล่นอินเตอร์เน็ต แล้วเลือกโปรโมชั่นให้ตรงกับการใช้งาน จะทำให้เงินเรามีเงินเหลือมากขึ้น
2.วิ่งหนีป้าย Sale
ทำให้เรามีทั้งความสุขและความโศกเศร้างได้ในเวลาเดียวกัน ความสุขจะเกิดขึ้นเมื่อเราเห็นว่า มันเป็นโอกาสที่จะได้ซื้อของราคาถูกตุนไว้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเราตัดสินใจซื้อของด้วยอารมณ์ มันจะกลายเป็นความโศกเศร้าทันที นอกจากต้องมานั่งเสียใจทีหลังแล้วยังเสียเงินมากกว่า ที่ควรจะเป็นอีกด้วย ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจซื้อของเพราะป้าย Sale เราควรตรวจสภาพคล่องของเงิน ในกระเป๋าก่อนว่าพร้อมจ่ายหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่สร้างหนี้เพราะป้าย Sale นะจ๊ะ
3.การดื่มกาแฟในวันทำงาน
ถ้าให้ค่ากาแฟเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง หากลงทุนสูงแสดงว่าเราคาดหวังผลตอบแทนสูงเช่นกัน เรามาดูกันว่าทุกวันนี้การลงทุนกับค่ากาแฟนั้นได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่
สมมุติดื่มกาแฟแก้วละ 150 บาท ทำงาน 20 วัน รวมเป็นเงิน 3,000 บาทต่อเดือน
การลงทุนค่ากาแฟจะคุ้มค่าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการใช้เงินของเราเอง เงินของเราล่องหนหาย ถ้าเราลงทุนกับค่ากาแฟนสูงมาก แต่กลับได้ผลตอบแทนไม่สูงตามไปด้วย ดังนั้น เราเลือกได้ว่าจะ ลงทุนค่ากาแฟให้น้อยลงหรือเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น
4.ลดค่าอาหารวันหยุด
กิจกรรมในวันหยุดของคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือหยุดยาวช่วงเทศกาล ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารการกินเกิดขึ้น ยิ่งนับวันราคาอาหารก็แพงแซงหน้าอัตราดอกเบี้ย ทุกวันนี้เราได้อาหารปริมาณเท่าเดิม(หรือลดลง) แต่จ่ายค่าอาหารในราคาที่สูงขึ้น ทำให้เงินของเรา ล่องหนหายไปกับค่าอาหารเป็นจำนวนมาก
ทางเลือกของการใช้เวลาช่วงวันหยุดไปกับการกินอย่างคุ้มค่า ในราคาประหยัดเราอาจจะลองเปลี่ยนจาก การนั่งกินในร้านอาหารมาเป็นการทำอาหารทานเองที่บ้าน นอกจากประหยัดค่าอาหารแล้วยังใช้เวลาสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวให้มากขึ้นด้วย
5.พกแบงค์ใหญ่
เราเคยลองสังเกตตัวเองไหมว่าระหว่างการพกแบงค์ใหญ่กับการพกแบงค์ย่อย แบบไหนทำให้เราใช้เงิน หมดช้ากว่ากัน ส่วนใหญ่จะตอบว่า “แบงค์ใหญ่” เพราะใช้ยากกว่าจะซื้ออะไรทีก็ต้องคิดแล้วคิดอีกว่า จะถูกร้านค้าบ่นกลับมาหรือไม่ เช่น แม่ค้าอาจจะมองหน้าถ้าซื้อลูกชิ้น 30 บาทแล้วจ่ายแบงค์ 1,000
การสร้างความลำบากในการใช้เงินด้วยการพกแบงค์ใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้เราคิดให้รอบคอบก่อน ใช้จ่ายแล้วยังทำให้เงินหมดช้าลงอีกด้วย ต่างกับการพกแบงค์ย่อยนั้นควักง่าย จ่ายคล่องมือใช้เพลินๆ แป๊บเดียวเงินล่องหนหายไปเกือบหมด
6.เลือกประกันรถยนต์ให้สอดคล้องกับความชำนาญในการขับรถของเรา ยังคุ้มครองสูงโดย ราคาประหยัด
การซื้อประกันรถยนต์นั้นเป็นรายจ่ายแบบปีต่อปี ยิ่งมียานพาหนะวิ่งบนท้องถนนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมี ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเท่านั้น หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจนทำให้บาดเจ็บ เสียชีวิตหรือ รถยนต์เสียหาย การทำประกันรถยนต์นั้นเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายได้
เชื่อว่าใครๆ ก็อยากได้ความคุ้มครองที่ดีที่สุด แต่ก็จะมาพร้อมกับเบี้ยประกันที่แพงมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ขับรถมานานและขับได้คล่อง และชำนาญ ไม่เคยมีการเคลมเล็กน้อยๆแบบไม่มีคู่กรณีเช่น เฉี่ยวเสา ถอยชนผนังที่บ้าน ขับรถครูดกับกระถางต้นไม้ เหมือนตอนขับรถใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันชั้นหนึ่งเสมอไป
This website uses cookies.