สาระธุรกิจ

7 เคล็ดลับสำหรับการลงทุนเริ่มต้นของสตาร์ทอัพ

ไม่เคยมีเวลาช่วงเวลาไหนที่น่าตื่นเต้นมากไปกว่าการเป็นผู้ประกอบในยุคของ startup อีกแล้ว

ในระบบการลงทุนในปัจจุบัน นักลงทุนเกิดความสนใจในการลงทุนใน Startup มากขึ้น และมีการกระจายพอร์ตการลงทุนของพวกเขา และการให้ความสนใจกับ startup ที่มีความคิดใหญ่ๆ ที่มีความพร้อมที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์สำหรับผู้เริ่มต้น startup ที่เพิ่งเริ่มต้นมองหา หรือ ที่เพิ่งจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะเข้าใจวิธีการที่จะลงสนามที่สมบูรณ์แบบและขายใบหน้าของคุณกับนักลงทุนอย่างชาญฉลาด และกล้าที่จะยืนออกมาเพื่อสร้างความโดดเด่นของ startup ของคุณเอง ให้กับนักลงทุนโดยการ ขายโปรเจคของคุรได้ในเวลาอันรวดเร็วและสั่นๆ แต่ได้ใจความ

 

1. เหลาความคิดใหญ่ให้คม และการสื่อสารอย่างชัดเจน

งานของคุณคือการโน้มน้าวให้นักลงทุนห็นถึงความคิดของคุณที่ตกผลึกเรียบร้อยแล้ว คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้นคือการเชื่อมั่นในความคิดของคุณเอง ที่คุณเหลามันและสื่อสารด้วยความเชื่อมั่น หนึ่งในความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดของผู้ประกอบการ คือการขาดความเชื่อมั่นในรูปแบบธุรกิจของพวกเขาหรือมองข้ามรายละเอียดที่สำคัญที่นักลงทุนมองหา

การทำวิจัยพร้อมกับการวิเคราะห์ที่จำเป็น เพื่อให้ได้นักลงทุนเข้ามานั้น อาจรวมถึงการกำหนดว่าทำไมกิจการที่คุณกำลังทำอยู่ เป็นธุรกิจที่น่าเชื่อถือในตลาด มีแนวโน้มที่ดีในแข่งขัน และเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้และดึงดูดลูกค้าและทรัพยากรอื่นๆที่จำเป็นในการผลักดันการเติบโต หากคุณไม่สามารถสื่อสารใด ๆในเรื่องราวที่กล่าวมาแบบนี้ได้ นักลงทุนเหล่านั้น ก็ยังไม่พร้อมที่จะเลือกคุณ หรือคุณเองก็ยังไม่พร้อมมากพอที่จะให้ใครมาสนใจใน startup ของคุณ

2. สร้างจุดขาย “ SALES PITCH”

นักลงทุนจะไม่สนใจใน “การตลาด” หรือ ความพยายาม “ขาย” ของคุณเท่าไรหรอก พวกเขาจะใช้เวลาอันมีค่าในการพิจารณา การพรีเซ้นต์ “ Elevator pitch” ของคุณต่างหาก เพื่อดูว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนใน area ของพวกเขา

“Pitch” คือการสื่ออย่างชาญฉลาดและพร้อมกับความเชี่ยาญที่มีต่อ startup ของคุณไปให้นักลงทุนได้รับรู้ และบางครั้งก็อาจจะได้ feed back ที่ดีอะไรหลายๆอย่างจากพวกเขา

หนึ่งในสิ่งแรกที่เราต้องทำและถือได้ว่าเป็นวิธีการที่จะสร้าง Pitch Deck และนำเสนอให้กับนักลงทุนเพื่อที่จะได้ครอบคลุมทุกๆเนื้อหรือมุมมองทางการตลาดจากนักลงทุนคือการช่วยตอบคำถามที่พวกนักลงทุนมักจะถาม นี้จะทำให้การเริ่มต้น ตรงตามอุตสาหกรรมเป้าหมายของพวกเขา

นักลงทุนยังต้องการที่จะได้รับแรงบันดาลใจจากความคิดของคุณและเข้าใจว่าพวกเขาสามารถช่วยให้คุณประสบความสพเร็จเช่นกัน ดังนั้นจึงควรที่จะนำเสนอไปยังเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของพวกเขาอย่างถูกจุด หากคุณไม่ได้รู้สิ่งที่เค้าต้องการเหล่านั้น คุณจำเป็นที่จะต้องทำการบ้านของคุณและหาจุดที่นักลงทุนอยากจะรู้และอยากฟัง

3. ฝึกพัฒนาการพรีเซ้นท์แบบแก้สถานการณ์สดๆ (หรือการฝึก “แถ” นั้นเอง)

อาจจะเป็นไปได้ว่าจะมีคำถามที่อาจเกิดขึ้นโดยนักลงทุนที่คุณไม่ได้เตรียมมาซึ่งยากที่จะคาดคิดได้ ซึ่งเช่นเดียวกับการขาย ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือ “ฝึกซ้อม” สคริปต์ หากเราโยนความคิด และ ตอบคำถามต่อหน้าผู้ชมไม่ได้ สิ่งที่เราอยากจะแนะนำคุณอย่างยิ่ง และสามารถพัฒนาเป็นจุดที่แข็งแกร่งของคุณได้ เรา

ขอแนะนำให้ทุกคนเริ่มต้นที่ฝึกพูดการนำเสนอใน กลุ่ม startup community ของคุณ เพื่อการพัฒนาการนำเสนอและทักษะ หรือแม้แต่การฝึกปฏิกิริยาของคุณ เวลาเจอคถามยากๆ จากนักลงทุน หรือ แม้แต่ลูกค้าคนสำคัญของคุณ

4. ทำ DUE DILIGENCE

เมื่อคุณเริ่มต้นธุรกิจใหม่และมองหานักลงทุนแล้วนั้น นักลงทุนต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม มากกว่าแค่วิธีการที่คุณจะทำให้ startup ของคุณเติบโตหรือตลาด,สินค้าหรือบริการของคุณ เรื่องอื่นๆที่พวกเขา “ต้องรู้” ก็คือข้อมูลที่มีรายละเอียดที่ชัดเจน อาจจะรวมถึงแหล่งที่มาของเงินทุนที่คุณต้องการจากองค์กร และการจัดการโครงสร้างบริษัทของคุณ สถานที่ในการเปิดออฟฟิศ อีกทั้งยังมีในเรื่องของข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ทางการเงินและกฎหมายอีกมากมาย

สิ่งเหล่านี้ยังล้วนเป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจของคุณโดยรวม รวมทั้งมาตรการที่คุณสามารถพัฒนาธุรกิจได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

5. พัฒนาแผนการดำเนินการธุรกิจให้ชัดเจนและเเข็งแรง

นักลงทุนต้องการที่จะรู้ว่าแผนการดำเนินธุรกิจของคุณ รวมถึงการดำเนินการที่สำคัญต่างๆ, การกำหนดเวลา และวัตถุประสงค์ในการก้าวไปข้างหน้าของคุณนี้เป็นไปได้หรือ ไม่ หรือ พูดง่ายๆว่า น่าลงทุนหรือไม่ที่จะเอาเงินของพวกเขามาเสี่ยงกับ บริษัทของคุณ คุณเองจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลสนับสนุนด้านการวิจัยตลาดเพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่าทำไมคุณเชื่อว่าวัตถุประสงค์เหล่านั้นที่คุณสร้างเหตุผลมา เป็นจริงและทำได้

ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้บริการผ่านบริษัทที่ทำ service ด้านการวิจัยซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สาม หรือคุณยังสามารถเขียนวิจัยของคุณเองก็ได้ จากหลักฐานที่ปรากฏในตลาดเช่นกัน แต่เราก็ยังแนะนำให้เลือกบริษัทในการชี้วัดมากกว่า เพราะพวกเขาสามารถที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายของ บริษัท ผ่านแผนงานและกลยุทธ์ได้ดีกว่าเพราะว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุนเองจะมีการมองภาพที่ดีเมื่อข้อมูลเหล่านี้มันแสดงออกมา เพราะจะทำให้เห็นถึงความรับผิดชอบและสามารถวัดผลได้จริงเป็นเป็นข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน

6. ทราบความต้องการ ทางการเงินของคุณ

นี่คือกุญแจสำคัญอย่างยิ่ง นักลงทุนต้องการที่จะรู้ว่าเงินที่คุณต้องการและวิธีการเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในองค์ประกอบทางธุรกิจต่างๆ การวิจัย, การจัดจำหน่าย, การตลาดหรือการผลิต คุณจะนำเงินของพวกเขาไปใช้อย่างไร มันจะต้องเป็นความคิดดี และเป็นจริงได้ตามวิธีการ สิ่งที่พวกเขาจะท้าทายคุณขึ้นอยู่กับว่าคุณจะสามารถใช้เงินของพวกเขา และ พวกเขาควรคาดหวังที่จะเห็นการกลับมาขอรายได้อย่างเป็นรูปธรรม

นักลงทุนยังจะต้องการที่จะรู้อีกว่าเงินทุนเพิ่มเติมที่คุณจะต้องใช้ในอนาคตและวิธีการหรือแผนของคุณที่จะบรรลุการระดมทุนในครั้งนี้มีความโปร่งใสและถูกต้องตามระบบเป็นสำคัญ

7. เตรียมที่จะใช้เวลาการเดินทางในธุรกิจ และสนุกไปกับมัน

การทำ due diligence อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี แต่ไม่ต้องท้อแท้ ถ้าคุณเชื่อในความคิดของคุณและมีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์แล้วมันคุ้มค่าเวลาและความพยายาม แม้ startup ส่วนใหญ่อาจไม่ประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืน แต่ในที่สุดคุณก็ต้องรากฐานทางความคิดที่จะสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน และสามารถทนต่อความเจ็บปวดใดๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพื่อให้ใช้เวลาในการพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมและเพื่อให้คุณเองมีรากฐานที่มั่นคงจะเริ่มต้นอย่างเเข็งแกร่ง ทั้งทางความคิดและประสบการณ์

เรื่อง โดย : Anna Rooke

แปล และ เรียบเรียง โดย : Startup Bangkok Team : Thailand

admin

Share
Published by
admin
Tags: จดทะเบียนบริษัทcovid2564จดทะเบียนบริษัทบุคคลรายได้เยอะจดทะเบียนบริษัทสรรพกรเรียกจดทะเบียนบริษัทโควิด2021ที่ปรึกษาทางกฎหมายปิดงบการเงินCovid-19ปิดงบการเงินช่วงโควิด19ปิดงบการเงินย้อนหลังปิดงบการเงินโควิด-19ปิดงบย้อนหลังหลายปีปิดงบเปล่าย้อนหลังยื่นงบการเงินล่าช้ายื่นงบย้อนหลังยื่นภาษีย้อนหลังยื่นภาษีร้านค้ารับจดทะเบียนบริษัท ซื้อที่ดินต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อบ้านต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัทดูช่วงเวลาดีรับจดทะเบียนบริษัทดูฤกษ์รับจดทะเบียนบริษัทวันดีรับจดทะเบียนใกล้ฉันรับจัดการมรดกรับทำบัญชีชาวต่างชาติรับทำพินัยกรรมรับปิดงบการเงินชาวต่างชาติรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อที่ดินรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อบ้านรับวางระบบบัญชีหาผู้สอบบัญชีเข้าสู่ระบบภาษีเคลียร์ปัญหาภาษีเปิดบริษัทเปิดบริษัทแต่ไม่เคยปิดงบ

This website uses cookies.