สาระธุรกิจ

8 ภาษีที่ผู้ประกอบการต้องรู้จัก

ภาษีหลัก ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องทำความรู้จัก มีทั้งหมด 8 ภาษี คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีสรรพสามิต ภาษีรถ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน เพื่อการทำธุรกิจที่โปร่งใส 8 ภาษีที่ผู้ประกอบการต้องรู้จักดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ที่ต้องชำระคือ นิติบุคคลตามมาตร 39 ซึ่งที่มีเงินได้พึงประเมิน โดยมีหน้าที่เสียภาษีทุกรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องทำการปรับปรุงรายจ่ายตามงบการเงินให้เป็นรายจ่ายทางภาษี การคำนวณภาษี คือ กำไรสุทธิ คูณด้วย อัตราภาษี จะได้ผลลัพธ์ เป็นภาษีเงินได้ (กำไรสุทธิ X อัตราภาษี = ภาษีเงินได้) สำหรับอัตราภาษีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คิดภาษีร้อยละ 20 ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คิดเป็นกำไรสุทธิ หากน้อยกว่า 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้น และตั้งแต่ 300,000 – 1,000,000 คิดเป็นร้อยละ 15 หรือ 1,000,000 ขึ้นไป ร้อยละ 20
การยื่นภาษีนั้น แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ภ.ง.ด. 51 ภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือน และภ.ง.ด. 50 ภาษีเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 150 วัน นับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ผู้ประกอบการยื่นแบบภาษีในช่องทางออนไลน์ กรมสรรพากรมีการขยายเวลาให้อีก 8 วัน นับจากวันครบกำหนด โดยสามารถชำระได้ที่ กรมสรรพากร ธนาคารพาณิชย์ E-Payment และ ที่ทำการไปรษณีย์ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการต้องการเงินภาษีขอคืน จะต้องกรอกส่วนคำร้อง ฯ ในแบบ ภ.ง.ด. 50 ซึ่งกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อและมีตราประทับนิติบุคคล

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
2.1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2.2. ผู้ประกอบกิจการที่ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.3. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกประเทศไทย และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศเป็นปกติหรือมีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการจ่ายร้อยละ 7 ของราคาสินค้า ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี โดยผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าเดือนนั้นจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม กรณียื่นภาษีแบบภาษีผ่านช่องทางระบบออนไลน์ กรมสรรพากร ขยายเวลาให้อีก 8 วัน นับจากวันที่ครบกำหนด ส่วนกรณีมีเงินขอคืน จะต้องกรอกส่วนคำร้อง ฯ ในแบบ ภ.พ.30 หากไม่กรอกคำร้อง กรมสรรพากรจะนำภาษีที่ชำระเกินเดือนนี้ไปถือเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีทุกเดือน โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้คือกิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ภาษีร้อยละ 3.0 ส่วนกิจการรับประกันชีวิต อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 กิจการโรงจำนำ อัตราภาษีร้อยละ 2.5 การค้าอสังหาริมทรัพย์ อัตราภาษีร้อยละ 3.0 การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 หรือได้รับการยกเว้น และการซื้อขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อัตราภาษีร้อยละ 3.0 รวมถึงธุรกิจแฟ็กเตอริง อัตราภาษีร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ในกรณีมีเงินภาษีขอคืน จะต้องกรอกแบบ ค. 10

4. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร สำหรับทรัพย์สินที่อยู่ในต่างจังหวัดสามารถติดต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อยื่นชำระภาษีได้ สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง
1. โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
2. ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนอาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
การยื่นแบบเพื่อขอประเมินภาษี เป็นการแจ้งรายการทรัพย์สินและค่าเช่า หรือประโยชน์อื่นที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ โดยยื่นขอประเมินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ที่สำนักงานเขต หรือ สำนักการคลัง จากนั้นเจ้าหน้าที่จะแจ้งยอดค่าภาษี เรียกว่า ภ.ร.ด. 8 มีอัตราภาษีร้อยละ 12.5 ของค่าเช่าทรัพย์สินรายปี สามารถชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขต หรือ สำนักการคลัง และธนาคารกรุงไทย กรณียื่นอุทธรณ์สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ภ.ร.ด. 9 ได้ที่สำนักงานเขต ภายใน 15 วัน

5. ภาษีสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิต ประกอบด้วย ภาษีน้ำมัน อัตราภาษีขึ้นอยู่กับชนิดน้ำมัน ภาษีเพื่อมหาดไทย ร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 ของราคาขายส่งและค่าการตลาด กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่รัฐบาลเรียกเก็บผู้ผลิตและผู้นำเข้าน้ำมัน โดยโครงสร้างราคาน้ำมันขึ้นอยู่กับแนวนโยบายการบริหารภาษี หรือนโยบายพลังงานของภาครัฐ

6. ภาษีรถ

ในกรณีกิจการดังกล่าวมีการใช้รถบรรทุกขนาดกลางขึ้นไป ในการขนส่งสินค้า โดยมีน้ำหนัก 15,300 กิโลกรัมเมื่อบรรทุกสินค้า ทั้งนี้เจ้าของรถยนต์มีหน้าที่เสียภาษีรถประจำทุกปี มีอัตราภาษีรถที่ใช้ ในการขนส่งส่วนบุคคล คิดตามน้ำหนักรถยนต์ดังนี้
รถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม อัตราภาษี อยู่ที่ 150 บาท
500 – 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 300 บาท
751 – 1,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
1,001 – 1,250 กิโลกรัม อัตราภาษี 800 บาท
1,251 – 1,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,000 บาท
1,501 – 1,750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท
1,751 – 2,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท
2,001 – 2,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,900 บาท
2,501 – 3,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 2,200 บาท
3,001 – 3,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 2,400 บาท
3,501 – 4,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 2,600 บาท
4,001 – 4,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 2,800 บาท
4,501 – 5,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 3,000 บาท
5,001 – 6,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 3,200 บาท
6,001 – 7,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 3,400 บาท
7,001 กิโลกรัมขึ้นไป อัตราภาษี 3,600 บาท
ส่วนเอกสารประกอบการยื่นชำระได้แก่ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือสำเนา หลักฐานการจัดให้มีประกันภัย และรถขนส่งทุกประเภท ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนเสียภาษี โดยต้องยื่นชำระภาษี ภายในระยะเวลไม่เกิน 90 วัน ก่อนสิ้นอายุภาษี สำหรับรถยนต์ที่มีอายุ 6 ถึง 10 ปี จะได้รับส่วนลดภาษี ปีละร้อยละ 10 ส่วนรถยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับรับการตรวจสอบรถยนต์ก่อนยื่นชำระทุกครั้ง

7. งินสมทบกองทุนประกันสังคม

สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างต้องมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยนายจ้างมีหน้าที่นำส่งสมทบทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้หักเงินสมทบเพื่อนำส่ง ประมาณ 83 – 750 บาท หรือร้อยละ 5 ของค่าจ้าง สำหรับฐานค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบ ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

8. เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

สำหรับกิจการที่มีลูกจ้างตามที่กำหนดนายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี คิดร้อยละ 0.2 – 1.0 ของค่าจ้าง ฐานค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบต้องไม่เกิน 240,000 บาทต่อคนต่อปี ผู้ประกอบการต้องส่งเงินสมทบ และรายงานค่าจ้างปีที่ผ่านมาภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หากเงินที่เก็บไว้ปีก่อนน้อยกว่าจำนวนที่ต้องชำระจริง จะถูกเรียกเก็บเพิ่ม ภายใน 31 มีนาคม และหากเงินสมทบที่เก็บไว้ปีก่อนมากกว่าจำนวนที่ชำระไว้ จะได้รับเงินส่วนที่จ่ายเกินคืน
ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำธุรกิจ หรือสนใจลงทุนควรศึกษาความรู้ในเรื่องการชำระภาษีให้เป็นอย่างดี เนื่องจาก หากละเลยการชำระภาษีเป็นเวลานาน หากถูกตรวจสอบและมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เป็นจำนวนมากเนื่องจากการสะสมมาเป็นเวลานาน รวมถึงยังเป็นเหตุที่ทำให้เสียชื่อเสียง ในด้านความรับผิดชอบอีกด้วย

admin

Share
Published by
admin
Tags: จดทะเบียนบริษัทจดทะเบียนบริษัทcovid2564จดทะเบียนบริษัทบุคคลรายได้เยอะจดทะเบียนบริษัทสรรพกรเรียกจดทะเบียนบริษัทโควิด2021ทำบัญชีที่ปรึกษาทางกฎหมายปิดงบการเงินCovid-19ปิดงบการเงินช่วงโควิด19ปิดงบการเงินย้อนหลังปิดงบการเงินโควิด-19ปิดงบย้อนหลังหลายปีปิดงบเปล่าย้อนหลังภาษียื่นงบการเงินล่าช้ายื่นงบย้อนหลังยื่นภาษีย้อนหลังยื่นภาษีร้านค้ารับจดทะเบียนบริษัทรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อที่ดินต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัท ซื้อบ้านต่างชาติรับจดทะเบียนบริษัทดูช่วงเวลาดีรับจดทะเบียนบริษัทดูฤกษ์รับจดทะเบียนบริษัทวันดีรับจดทะเบียนใกล้ฉันรับจัดการมรดกรับทำบัญชีรับทำบัญชีชาวต่างชาติรับทำพินัยกรรมรับปิดงบการเงินชาวต่างชาติรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อที่ดินรับปิดงบบริษัทต่างชาติ ซื้อบ้านรับวางระบบบัญชีหาผู้สอบบัญชีเข้าสู่ระบบภาษีเคลียร์ปัญหาภาษีเปิดบริษัทเปิดบริษัทแต่ไม่เคยปิดงบ

This website uses cookies.