6 ที่สุดของ “วิธีออมเงิน” ขั้นเทพ

ทำงาน ==> ออมเงิน ==> ลงทุนให้เงินเติบโต

บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าจากวิธีทำให้เงินเติบโตด้วยการลงทุนได้นั้นจะต้องมาจาก “การออมเงิน” ก่อนถึงจะนำเงินไปต่อยอดได้ หากเราไม่มีแรงบันดาลใจให้เริ่มออมเงิน ขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นการลงทุนก็จะไม่เกิดขึ้น สำหรับบางคนแค่มีเงินเก็บได้ก็รู้สึกดีมากแล้ว เราต้องการปรับวิธีคิดจากคนที่มีสารพัดข้ออ้างว่าออมเงินไม่ได้ อ่านบทความนี้แล้วเกิดแรงบันดาลใจอยากออมเงิน แล้วทดลองออมเงินด้วยวิธีการเหล่านี้ก็จะรู้สึกว่าการออมเงินนั้นทำได้ง่ายมาก เมื่อเริ่มออมเงินได้ เห็นตัวเลขเงินออมมากขึ้นจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองระดับหนึ่งว่าเราก็ทำได้เหมือนกันนะ แล้วจะเกิดความคิดต่อมาว่า “จะทำยังไงให้เงินออมของเรามากขึ้นกว่านี้” จึงเริ่มศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดให้เงินออมเติบโตขึ้น

สำหรับวิธีนอกเหนือจากนี้จะเป็นการออมเงินแบบอัตโนมัติผ่านการตัดบัญชีธนาคารสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความเก่าที่ลิ้งค์นี้นะจ๊ะ  “3 ขั้นตอนตั้งงบสยบรายจ่าย” หากอ่านจบแล้วทำให้คนอ่านเริ่มออมเงินได้ทันที ถือว่าบทความนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้อ่านควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสไตล์การใช้ชีวิตของตนเอง ถ้ามีวิธีการออมแบบอื่นที่แหวกแนวกว่านี้ก็ส่งมาให้ดูบ้างนะคะ เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนอื่นต่อไปเรื่อยๆค่ะ

 

เริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจอยากออมเงิน…

คุณเคยเจอข้ออ้างแบบนี้จนทำให้ออมเงินไม่ได้ใช่หรือไม่?

  • มีภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวเยอะมาก ออมเงินตอนนี้ไม่ได้หรอก
  • มีหนี้ท่วมหัวแบบนี้จะออมเงินได้ยังไง
  • ออมเงินไม่ได้หรอกเพราะต้องใช้เงินมาหมุนเวียนในธุรกิจ
  • ใช้เงินเดือนชนเดือนแบบนี้จะออมเงินได้ยังไง

 

ลบสารพัดข้ออ้างที่ออมเงินไม่ได้ให้หมดไป

ด้วย “6 ที่สุดของวิธีออมเงินขั้นเทพ”

 

1. เป้าหมายชัดเจนที่สุด : เขียนป้ายและจดบันทึก

ภาพทางซ้าย : เขียนเป้าหมายแปะไว้ชัดเจนว่าเงินแต่ละกระปุกจะนำไปทำอะไรบ้าง

ภาพทางขวา : คำนวณว่าแต่ละที่ที่จะไปเที่ยวนั้นใช้งบเท่าไหร่ เดินทางช่วงไหน และต้องหาเพิ่มอีกกี่บาท

2. อลังการที่สุด : 9 เดือนได้คนละ 20,000 บาท

เจ้าของกระทู้ต้องการสร้างแรงบันดาลใจในการออมเงินว่ามันไม่ได้ยากและพยายามลบข้ออ้างของใครอีกหลายคนว่าออมเงินไม่ได้ก็เลยหาวิธีออมเงินแบบนี้…

 

กระปุกออมสิน ==> ชวนเพื่อนออมเงิน ==> หยอดเงินค่าอาหารกลางวันและหยอดวันเงินเดือนออก

 

การออมเงินนี้มีเพื่อนเป็นแนวร่วมกันทั้งหมด 3 คน โดยตั้งกฎการออมไว้ว่า “ข้าวกลางวันทานเท่าไร ให้ใส่เงินเข้าไปจำนวนเท่านั้น ห้ามน้อยกว่าเด็ดขาดและวันที่เงินเดือนออกต้องหยอดกระปุกอีกครั้งจำนวนเท่าไหร่ก็ได้” ซึ่งเริ่มออมเงินตั้งแต่เดือน พ.ย. 56 จนมาถึงวันนี้ประมาณ 9 เดือน คิดว่าจะนำเงินในกระปุกไปทำให้งอกเงยจึงแคะกระปุก สรุปว่านั่งนับกันได้เงินออมคนละ 20,000 กว่าบาท (รวมกัน 3 คนก็ 80,000 กว่าบาท) ซึ่งในกลุ่มที่ออมเงินนี้มีคนหนึ่งที่ใช้จ่ายเก่งมาก ซื้อทุกอย่าง น้ำหอม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ฯลฯ ถ้าไม่เก็บเงินแบบนี้รับรองว่าเงินหายหมด

 

เราคิดว่าหากจะนำวิธีนี้ไปต่อยอดอาจจะเป็นการหยอดกระปุกจากรายจ่ายช้อปปิ้งประวันวันว่าวันนี้ซื้อของไปเท่าไหร่ก็ออมเงิน 10%-50% ของราคาที่จ่ายไป หรืออาจจะออมเงินเท่ากับมูลค่าของที่ซื้อไปก็ได้ สาวๆคนไหนที่ชอบไปเดินตลาดนัดแถวที่ทำงานตอนพักกลางวันก็น่าจะได้เงินออมจากส่วนนี้ได้มากเลยหละ หรือการออมเงินจากค่ากาแฟ วันนี้กินไปกี่แก้วก็หยอดเงินไปเท่านั้น ดื่มแก้วละ 50 บาทก็หยอด 50 บาท หรือว่าดื่มแก้วละ 150 บาทก็หยอด 150 บาท หากดื่ม 2 แก้วต่อวันก็คูณกันออกมาแล้วไปหยอดกระปุก รอไว้สัก 1 ปีค่อยมาเปิดออกดูอาจจะเปิดร้านกาแฟได้เลยนะ

 

3. เจ้าของคอมเม้นท์นี้น่าจะมีความสุขที่สุด อิอิ

เปิดอ่านคอมเม้นท์มาเรื่อยๆก็สะดุดกับข้อความนี้ แหวกแนวมากอ่ะ

4. ใช้กระป๋องเบียร์มีประโยชน์ที่สุด

แนวคิดการออมในกระป๋องเบียร์….

“ผมเคยฟังพี่คนนึงบอกว่า ถ้าอยากได้โบนัสเยอะๆให้เก็บออม จริง ๆผมเก็บออมเป็นเศษเงินที่เหลือใช้ในแต่ละวันนะครับ โดยผมกำหนดว่า หากเต็มป๋อง เมื่อไหร่จะได้กระปุกใหม่เมื่อนั้น 555 ทุกกระปุกจะมีธนบัตรทุกชนิดเป็นการเปิดแรกก่อนทีนี้ก็แยก ไฮเนเก้นจะเฉพาะ 10-5 สิงห์นี่ กินบ่อยเอาเหรียญ 1-2 บาทพอ ประมาณนี้ครับ 8 เดือน ได้ iPhone 5 มา 1 เครื่องครับ สิ้นปีพอดีปีใหม่นั่งนับเงิน สนุกมาก ปล.บางงวดไหนถูกหวยก็จะใส่เพิ่มหรือได้เงินมาจากทางอื่นฟรีๆก็จะใส่เพิ่มครับ ปัจจุบันก็ยังทำวิธีนี้อยู่ครับ”

หากจะนำวิธีนี้ไปดัดแปลง เราคิดว่าน่าจะ “กินเบียร์ไปกี่กระป๋องก็ออมให้เต็มทุกกระป๋อง” ยิ่งดื่มเบียร์มากก็ต้องออมเงินมาก แต่ทางที่ดีที่สุดควรดื่มแต่พอดี เพราะหากดื่มมากไปก็อาจจะต้องแคะเงินในกระป๋องเบียร์มาจ่ายเป็นค่าดูแลสุขภาพตัวเองก็ได้

5. ใช้เวลาออมสั้นที่สุด : หยอดกระปุก 46 วัน 18,800 บาท

การออมเงินของผู้เป็นเจ้าของกิจการ บางคนคิดว่าควรจะนำเงินไปหมุนเวียนในกิจการตนเองมากกว่าการออมเงินเก็บไว้เฉยๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีส่วนหนึ่งนะคะ แต่ควรคิดเพิ่มไปอีกนิดว่า “หากวันหนึ่งขายของไม่ได้จะนำเงินตรงไหนมาใช้จ่าย” เพราะธุรกิจก็เหมือนชีวิตคนเราที่ต้องการเงินฉุกเฉินไว้กับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น บางคนขายของทางวิทยุหรือทางเคเบิลท้องถิ่น แต่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองจนทำให้ถูกปิดสถานี ส่งผลให้ไม่มีช่องทางการจัดจำหน่าย ณ จุดนั้นแหละเงินออมจะเข้ามาหมุนเวียนช่วยกิจการในช่วงที่กำลังหาช่องทางการขายใหม่ๆ

จากตัวอย่างนี้ทำให้เรารู้ว่า

“เป็นเจ้าของธุรกิจก็มีออมเงินได้”

จุดเริ่มต้นการออมของคอมเม้นท์นี้…

ขอเกริ่นเรื่องธุรกิจก่อนนะคะ เรากับแฟนทำร้านสินค้าและบริการควบคู่กันไป  ที่ร้านไม่ได้เป็นหน้าร้านใหญ่โต ร้านเราเป็นร้านเล็กๆ บางวันลูกค้าก็ไม่มีเข้าร้าน บางวันก็เต็มร้าน บางวันก็จ่ายเป็นหมื่น โดยไม่มีรายรับ บางวันก็รับเป็นหมื่น โดยไม่มีรายจ่าย บางครั้งมีตลาดนัดเราก็ออกไปขาย  บางครั้งอยู่บ้านก็ลงขายของออนไลน์

เงินที่ได้มา ส่วนใหญ่จะไม่มีเก็บ เพราะเราเป็นธุรกิจเงินหมุน

เงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดและเงินสดในบัญชีออมทรัพย์

เงินที่รับมาส่วนใหญ่จะไปซื้อของมาขายและใช้จ่ายในแต่ละเดือน

เคยมีบางครั้งที่เดือนชนเดือน เงินในบัญชีมี ไม่ถึงร้อย แต่ของเต็มร้าน

วันนึงเราเคยมีความคิดที่ว่า จะฝากเงินในรูปแบบฝากประจำ….แต่เราคิดว่า แฟนเราทำไม่ได้แน่ๆ เพราะเงินฝากประจำ จะเห็นเป็นตัวเลข วันที่ 24 มิถุนา ที่ผ่านมาเราเดินไปตลาดเพื่อไปซื้อกับข้าวเห็นรถเข็นขายกระปุกออมสินก็เลยซื้อมา ในราคา 180 บาท (ตัวใหญ่สุดในร้าน)ก็เลยรีบคว้า หิ้วกลับบ้านบอกว่าจะหยอดกระปุกขายของได้มา หักลงกระปุกก่อน 10% ไปขายของข้างนอก กลับมาก็หยอด 500 บ้าง 1000 บ้าง บางวันขายได้น้อย ก็หยอด 100 และขายของทุกครั้งเราจะหยอดทุกครั้ง 10 บาท 20 บาทก็มี

จนวันเวลา มาถึงวันนี้ ….
ขอย้อนกลับไปเมื่อเดือนที่แล้ว แฟนเราเห็นของถูกก็ซื้อ ซื้อ และก็ซื้อ (ซื้อมาก็ขายได้กำไรพอสมควร) และวันนี้จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ  เงินในบัญชีที่มี ก็ต้องไปซื้อของมาให้ลูกค้า  เงินสดในมือก็มีไม่กี่พัน  แฟนเราพูดกับเราว่า

แฟน : ไอ้อ้วน….เค้าขอเงินทุบกระปุกได้มั๊ย? (เสียงคุณเธออ้อนมาเชียว)
เรา : (ด่าไปชุดนึง) จะทุบทำไม สิ้นปีนี้จะเอารถแล้ว ต้องมาเริ่มต้นใหม่อีก บลาๆๆ

คือว่ากระปุกใบนี้เราตั้งใจจะทุกสิ้นปี เพื่อนำไปดาวน์รถกระบะ แต่วันนี้ ต้องทุบแล้วตอนทุบ เราแอบตกใจนิดๆเพราะว่าหยอดมาเดือนกว่าๆจะเต็มกระปุกแล้วก่อนเทมานับ.. โอ๊วว แบงค์มันฟูหรือกระปุกมันเล็ก

สุดท้ายช่วยกันนับ

46 วัน ได้ 18,800 บาท  ไม่ได้นับเหรียญเข้าด้วยนะคะ เหรียญน่าจะมีประมาณ 100 กว่าบาท

นับเสร็จ เราพูดกับแฟนว่า “ถ้าไม่มีกระปุกแล้วเราฝากเงินเกือบ 2 หมื่นไว้ในบัญชี หนูว่า พี่คงเอาไปซื้อของหมดแล้วจริงมั๊ย?”
แฟนตอบคำเดียวสั้นๆ “จริง!”

 

6. รักแบงก์ 50 ที่สุด : 1 ปี ได้มา 10,750 บาท

เป็นวิธีการอีกแบบหนึ่งว่าหากได้เงินทอนมาเป็นแบงก์ 50 แล้วนำไปออมเก็บไว้

 

มีตัวอย่างแฟนเพจที่ใช้วิธีออมด้วยแบงก์ 50 บาทเหมือนกัน บางคนที่สะสมรวมกันมากๆก็สามารถนำไปชำระหนี้ได้ด้วย น่าชื่นชมมากๆค่ะ เป็นตัวอย่างการเงินออมสะสมก้อนเล็กๆที่รวมกันเป็นก้อนใหญ่ไปชำระหนี้ได้

การออมเงินนั้นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่านจบแล้วเริ่มออมเงินกันเลยนะจ๊ะ…

 

ที่มา http://www.aommoney.com