Thin Capitalization คืออะไร ?

ปกติทุกๆ กิจการจะมีแหล่งเงินทุน จาก 2 แหล่ง คือ
1. แหล่งที่เป็นเงินกู้ (Debt)
2 แหล่งที่มาจากส่วนของเจ้าของ (Equity)

คำว่า thin capitalization คือ การที่โครงสร้างเงินทุนของกิจการอาศัยเงินทุนจากแหล่งหนี้สินมากกว่าแหล่งเงินที่มาจากเจ้าของในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก

ปกติโดยทั่วไปก็ D:E ก็ที่ประมาณ 1:1 แต่กิจการที่ใช้สัดส่วนหนี้ต่อทุน 3:1 ก็ถือว่าเป็นการใช้สัดส่วนเงินทุนจากหนี้สินสูงมากเมื่อเทียบกับทุนก็หมายความว่า

สมมติมีทุนทั้งหมด 400 ล้าน โครงสร้างทุนนี้จะมีหนี้ 300 ล้าน และทุนจากเจ้าของแค่ 100 ล้าน
ประโยชน์ของการใช้เงินทุนที่มาจากหนี้ ก็คือการที่ดอกเบี้ยสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้แต่เงินปันผลไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มันหักออกจากกำไรสะสมถือเป็นการคืนทุนให้กับผู้เป็นเจ้าของ

ดังนั้น การใช้หนี้ จึงเป็นผลทำให้ต้นทุนเงินถัวเฉลี่ย (Weighted Average Cost of Capital ,WACC) ของกิจการต่ำลงมาได้ เนื่องจากได้ประโยชน์การที่สามารถลดภาษีที่จะต้องจ่ายลงมาได้ หรือเรียกกันว่า tax shield

ตัวอย่างเช่น กิจการมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีอยู่ที่ 100 ล้าน สมมติเรามีดอกเบี้ย 20 ล้านบาทกำไรก่อนภาษีจะเหลือที่ 80 ล้านเราจะเสียภาษีเพียง 24 ล้าน (สมมติอัตราภาษี 30%) แต่ถ้าเป็นเคสเราไม่กู้เงินได้กำไร 100 ก็เสียภาษี 30 ซึ่งก็แปลว่าเราเสียภาษีแพงไป 6 ล้านบาท อันนี้แปลว่าสมมติอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 8% เท่ากับว่าเรามีต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงเพียง 5.6% มาจาก 8*(1- อัตราภาษี) หรือ 8*(1-0.3) = 5.6 นั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าการที่เราใช้หนี้เยอะสรรพากรก็ไม่ชอบใจนักเพราะจะเก็บภาษีเราได้น้อยลง

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การมี thin cap จะดีนะ เนื่องจากการมีสัดส่วนหนี้มากๆ หรือที่เราเรียกว่า leverage สูงๆ มันจะสร้างความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้แก่กิจการ เนื่องจากเรามีดอกเบี้ยต้องจ่ายเป็นก้อน ที่เรียกว่า fixed charge ก็เป็นผลทำให้ถ้าเราประกอบการรายได้เพิ่มดีก็ดีไป แต่ถ้ารายได้หดเมื่อไรเมื่อนั้นคุณแย่แน่ๆ เพราะอัตรากำไรของคุณจะหล่นฮวบเลยหละครับ

 

ขอเพิ่มเติม อีกหน่อยนึงครับ
ปกติกิจการใช้เงินทุนจาก 2 แหล่ง D และ E ที่ว่าไปแล้ว ซึ่งแต่ละแหล่งมีอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุน (แบงค์ที่ให้กู้ หรือคนถือตราสารหนี้ และคนถือตราสารทุน) ต้องการแตกต่างกัน อัตราผลตอบแทนที่เขาเหล่านี้ต้องการ

ในทางกลับกัน ก็จะกลายเป็นต้นทุนเงินทุนของกิจการ ที่เราจะใช้เป็นตัวคิดลดกระแสเงินสดของโครงการต่างๆ ที่กิจการจะลงทุน การจะคิดต้นทุนแบบแยกกันระหว่างหนี้กับทุนคงทำไม่ได้เพราะมันคือเงินก้อนเดียวกัน ก็เลยใช้วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนเงินทุนหรือที่เรียกว่า WACC

ซึ่งคำนวณมาจาก สัดส่วนทุน(e)*ต้นทุนเงินทุน+สัดส่วนหนี้(d)*ต้นทุนเงินกู้ หรือ We*Re+Wd*Rd สมมติว่ากิจการมี D/E ratio ที่ 60% : 40% และอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 7% ต้นทุนเงินทุนอยู่ที่ 16% ตามนี้เราจะได้ อัตราภาษี 30%

อย่าลืมว่า Rd = interest*(1-tax rate) นะครับ

WACC = 0.6*(0.07)*(1-0.3)+0.4*(.16)
หรือเท่ากับ 0.0934 หรือ 9.34% ครับ
เราจะใช้ 9.34 % คิดลดโครงการต่างๆ ของกิจการที่กิจการต้องการจะลงทุน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะคิดแบบวิธีที่เรียกว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ Net Present Value หรือ NPV ครับ

ถ้าคิดลดกระแสเงินในอนาคตที่เราคาดการณ์ไว้หักจากเงินลงทุนที่ต้องลงแล้วเป็นผลบวกก็ตัดสินใจว่าจะลงทุนโดยหลักการครับแต่อาจมีข้อปลีกย่อยอื่นๆก็ต้องว่ากันไป ในแต่ละเคสครับ