คัมภีร์เจ้าของกิจการ

การก้าวสู่การเป็น “ผู้ประกอบการ” นั่นคือ การเป็นผู้ยอมรับ ‘ความเสี่ยง’ โนโลกของธุรกิจการเงิน ความเสี่ยงที่ว่านั้นมีความเป็นไปได้ทั้ง ‘กำไร’ และ ‘ขาดทุน’ ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเสี่ยงนั้นก็คือ ‘เวลาและเงินออม‘ เพราะเมื่อกิจการไม่ดี ทั้งเวลาและเงินออมที่เก็บหอมรอมริบมาอย่างยากลำบากก็จะต้องสูญเสียไป แต่ในทางกลับกันหากกิจการเป็นไปด้วยดี ผู้ประกอบการก็จะได้รับผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ เพื่อการเข้าสู่ความพร้อมในการเป็น “ผู้ประกอบการ” มี 5 เรื่องหลักที่คุณต้องตรวจสอบและที่คุณต้องเตรียมตัว หรือต้องรู้ มาแนะนำดังนี้

 

1. วินิจฉัยตัวเอง

คุณมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบการแล้วหรือไม่? ตอบคำถามเหล่านี้
• คุณตั้งใจที่บรรลุความสำเร็จให้ได้มากกว่าที่คาดหวังไว้หรือไม่?
• คุณยินดีทำงานมากกว่าวันละ 10-12 ชั่วโมงติดต่อกันแล้วหรือไม่?
• คุณพร้อมจะเอาเงินทุนของตัวเองมาเสี่ยงแล้วหรือไม่?
• คุณมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการสร้างธุรกิจ ด้วยการเผชิญงานหนัก แม้โอกาสของความสำเร็จจะมีไม่มากนักได้หรือไม่?
• คุณพร้อมที่จะเผชิญศัตรูที่มีอำนาจมากกว่าหรือไม่?

2. การสร้างตัวแบบทางธุรกิจและกลยุทธ์

การตัดสินใจทางธุรกิจของแหล่งที่มาของรายได้ ต้นทุนของกิจการ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ

แหล่งที่มาของรายได้ เงินจำนวนนี้ได้มาจากอะไรบ้าง ยอดขาย ค่าบริการ ค่าโฆษณา อื่นๆ

สิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน อะไรคือต้นทุน? ค่าแรง วัตถุดิบที่ซื้อมาเก็บไว้ เชื้อเพลิง

ขนาดของการลงทุน คือการลงทุนที่ใช้เพื่อตั้งธุรกิจเป็นจำนวนเท่าไหร่? รวมทั้ง เงินทุนหมุนเวียน ที่ทำให้ธุรกิจดำเนินงานต่อไปได้ด้วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ อาทิ 1.ความสามารถในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง 2.การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหญ่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. การเติบโตของกิจการ โดยคุณต้องถาม 3 คำถามนี้กับตัวเอง

กลยุทธ์ที่ใช้มีความยั่งยืนหรือไม่? มีสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจจนทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งวัดผลจาก “การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของรายได้” นั่นเอง

มีความได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์ อันนำไปสู่ความสำเร็จที่จะขยายเข้าไปสู่ตลาดอื่นได้หรือไม่? โดยตลาดอื่นนั้นอาจจะเป็นภูมิภาคอื่นที่คุณยังไม่ได้ไปจัดจำหน่าย หรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้มีความละเอียดหรือสามารถแยกประเภทผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น อาทิ รส กลิ่น สี เป็นต้น

การขยายขนาดของธุรกิจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่? โดยการสร้างการเติบโตของยอดขาย เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะธุรกิจบริการ คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจ้างคนที่มีคุณสมบัติ หรือ “จ้างคนเก่ง” เข้ามาเรื่อยๆถ้าหวังที่จะเติบโต

4. ทำความเข้าใจงบการเงิน

เพราะเป็นเอกสารสำคัญสำหรับธุรกิจ ด้านฝ่าย “ทีมบริหาร” ก็จะเอามาใช้ประเมิณผลปฏิบัติงาน ส่วน “ผู้ถือหุ้น” จะติดตามดูว่าเงินลงทุนของตนได้รับการบริหารดีเพียงใด และสำหรับ ‘ผู้ลงทุนภายนอก” ก็จะใช้ดูว่ามีโอกาสหรือมีความเหมาะสมที่ควรจะเข้าไปลงทุนด้วยหรือไม่ ทั้ง งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด นอกจากนั้น ควรทำความเข้าใจ “อัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของคุณด้วย”

งบดุล ทำไมต้องดุล ? เรื่องราวงบการเงินที่เคยได้ยินได้ฟังกันเป็นมาบ้างนั้น มักมี 3 ประเภทหลัก คือ งบดุล, งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด

ซึ่งงบการเงินแต่ละประเภท ก็มีรูปแบบเฉพาะตัว แสดงหน้าที่ต่างกัน

(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกดที่รูปภาพ)

 

5. เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางธุรกิจ

เพราะการจะเติบโตต่อไปจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนเพิ่มเติม เพื่อกระจายความมั่งคั่ง เพื่อนำพาธุรกิจให้ขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น หรือเพื่อลองทำสิ่งใหม่ๆ โดยมี 2 วิธีการ คือ การขายกิจการ โดยเสนอขายหุ้นแก่สาธารณชน (IPO) และ การควบรวมและซื้อกิจการ (Acquisitions) เพื่อมุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงขึ้น และทำให้การดำเนินงานมั่นคง

มาทำความรู้จักหุ้น IPO กันเถอะ
ถ้ากองทัพต้องเดินด้วยท้องเช่นเดียวกันธุรกิจที่ต้องเดินด้วยเงินทุนถ้าธุรกิจขาดเงินทุนขาดสภาพคล่องก็เท่ากับว่าธุรกิจไม่สามารถเดินต่อไปได้ เงินทุนจึงสำคัญ แล้วจะทำอย่างไรให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว

(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกดที่รูปภาพ)

ดังนั้น การเริ่มทำธุรกิจด้วยตัวคุณเองนั้น มีทั้ง “โอกาส” มี “ความก้าวหน้า” และ “ความเสี่ยงต่อความล้มเหลว” ควบคู่กันไป ดังนั้น ทุกกิจกรรมและทุกๆการตัดสินใจที่คุณทำเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง คุณพึงต้องมีทั้ง “ความรู้รอบด้าน” และ “ความมีสติที่ต้องเผชิญกับปัญหาด้วย”

 

6. ธุรกิจร่วมทุนสู่ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตและยิ่งใหญ่

สำหรับการดำเนินธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังของผู้บริโภค แทบทุกองค์กรที่ต้องการก้าวไปยืนแถวหน้าทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก มักเลือกใช้ กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Venture)

อ้างอิงข้อมูลจาก Harvard Business Essentials

บทความโดย เทอร์ร่า บีเคเค