จัดตั้งมูลนิธิ

การเตรียมการจัดตั้งมูลนิธิ

สมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(ส.ม.ท.) ได้พิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันมีผู้สนใจก่อตั้งมูลนิธิกันมาก แต่ยังไม่เข้าใจการดำเนินการจัดตั้งว่ามีขั้นตอนอย่างไร เมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงเห็นสมควรจัดทำคำแนะนำการจัดตั้งมูลนิธิและการดำเนินการของมูลนิธิขึ้น เพื่อให้เข้าใจโดยง่าย และเป็นการอำนวยความสะดวกในแนวทางปฏิบัติ

ความหมายของมูลนิธิ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิไว้ว่า มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

การจัดการทรัพย์สิน ของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเองกล่าวโดยสรุป ความหมายของมูลนิธิตามข้อกฎหมายข้างต้นนี้ให้ความสำคัญอยู่ที่ทรัพย์สินคือ เป็นการนำเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็นกองทุน เพื่อทำกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังจะเห็นได้จากหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งมูลนิธิ ซึ่งทาวงราชการได้กำหนดหลักการและจำนวนเงินทุน “ทุนทรัพย์เริ่มแรก” ที่นำมาจดทะเบียนไว้ดังนี้

  • ใน การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000บาท
  • แต่ ถ้ามูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็น กองทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ได้กำหนดให้มูลนิธิ ต้องมีข้อบังคับและต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ การก่อตั้งมูลนิธิ ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลมารวมกันปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ทรัพย์สินที่จะจัดตั้งมูลนิธิ
  • จัดทำข้อบังคับของมูลนิธิ
  • กำหนดที่ตั้งของสำนักงานมูลนิธิ
  • แต่งตั้งและกำหนดตำแหน่งกรรมการมูลนิธิ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก เลขานุการ เป็นต้น
  • แต่ง ตั้งบุคคล เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องการยื่นเรื่องราวของมูลนิธิ เมื่อได้ประชุมกันกระทำตาม ข้อ 1-5 แล้วให้ผู้ได้รับมอบหมายจัดทำเอกสารเพื่อยื่นเรื่องขอจัดตั้งมูลนิธิจำนวน 4 ชุดดังนี้
    1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ
    2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะมาเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
    3. ข้อบังคับของมูลนิธิ
    4. หนังสือคำมั่นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1) ที่มีผลตามกฎหมาย
    5. สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตาม (1) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
  • สำเนา ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการหน่วยงานของ รัฐ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) หรือหลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกัน ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าวหรือพระภิกษุ
  • แผนผังโยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี) ***
  • หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตามข้อ ***
  • สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ
  • หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าหน้าที่ดินและสำเนาโฉนดที่ดิน (กรณีมีที่ดินอยู่ในกองทุนที่จะจัดตั้งมูลนิธิ)
  • อื่นๆ (ถ้ามี

การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ

  • ในเขตกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ
  • ในเขตจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ

การยื่นเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

ในเขตกรุงเทพมหานคร

  • ผู้ขอตั้งมูลนิธิ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐาน (จำนวน 4 ชุด) เพื่อยื่นร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิตามแบบ (ม.น.1) ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานมูลนิธิจะจัดตั้งขึ้น ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานเขต
  • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตรับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำขอและหลักฐาน ต่างๆ ตรวจสอบชื่อของมูลนิธิว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือซ้ำกับชื่อของมูลนิธิที่จด ทะเบียนไว้หรือไม่ การตรวจสอบ / สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติเหมาะสมที่จะดำเนิน การตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหรือไม่
  • พนักงาน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนโดยส่งเรื่องไป กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ก่อนส่งให้นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร (ปลัดกระทรวงมหาดไทย)พิจารณาอนุญาต ซึ่งหากเห็นว่าถูกต้องจะส่งไปยังกระทรวงมหาดไทย
  • เมื่อนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานครได้รับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุ ประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ นายทะเบียนจะส่งคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
  • เมื่อ ผ่านกระบวนการของ สวช. แล้ว นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบสำคัญแสดงการจด ทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น.3)และส่งประกาศอนุญาตให้ตั้งเป็นมูลนิธิไปยังสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อลงในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขตเพื่อแจ้งให้ผู้ขอรับใบสำคัญฯและชำระค่า ธรรมเนียมตามกฎกระทรวง

ในเขตต่างจังหวัดอื่นๆ
ผู้ขอตั้งมูลนิธิ ต้องจัดทำเอกสารหลักฐาน (จำนวน 4 ชุด) เพื่อยื่นเรื่องคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต่อนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิตั้งขึ้น
เมื่อ นายอำเภอท้องที่ได้รับเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากผู้ขอแล้ว จะทำการตรวจสอบ/สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติ เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหรือไม่เมื่อทำการตรวจ สอบ/สอบสวนเสร็จแล้วรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไปยังจังหวัด
เมื่อ จังหวัดได้รับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับ งานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จังหวัดจะส่งคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
เมื่อ สวช. ได้ตอบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นองค์การแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบ สำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศการอนุญาตให้ตั้งมูลนิธิไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลง ในราชกิจจานุเบกษาแล้วส่งเรื่องคืนไปยังอำเภอเพื่อแจ้งให้ผู้ขอมารับใบ สำคัญฯและชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง